3 ข้อควรระวัง ข้อห้ามเมื่อบูชาพระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง

by saimu
0 comment
บูชาพระเครื่อง

การบูชาพระเครื่องนั้นข้อห้าม ข้อควรระวัง ข้อควรรู้ ข้อควรปฏิบัติเป็นสิ่งที่สายมูเตลูควรรู้ก่อนจะนำมาบูชาเป็นอย่างยิ่งวันนี้เราเลยรวมข้อต่างๆมาให้ดังต่อไปนี้

3 ข้อควรระวังในการบูชาพระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง

1. วิธีการบูชาพระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้บูชาควรให้ความใส่ใจ เพราะหากบูชาไม่ถูกวิธีหรือได้ทำสิ่งที่ขัดกับพิธีในการบูชาแล้ว ก็อาจจะไม่ทำให้เกิดผลดีต่อชีวิตตามที่เราต้องการ หรือประสงค์ ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงวิธีการบูชาเป็นหลักแบบที่ถูกวิธี โดยหลักๆแล้ววิธีการบูชา คือ หมั่นทำบุญ ทำทาน อุทิศบุญกุศล สวดมนต์บูชาครูบาอาจารย์ อุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และก่อนที่เราจะรับเครื่องรางชนิดใดมาบูชานั้นควรหมั่นทำทาน แผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรอยู่บ่อยๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบอกกล่าวกันต่อเจ้ากรรมนายเวรนั่นเอง

บูชาพระเครื่อง

2. ข้อปฏิบัติ ข้อห้ามในการบูชา ข้อควรระวังเมื่อคุณได้บูชาพระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง มีหลายอย่าง แต่สิ่งที่ห้ามต่างๆ นั้นก็เพื่อให้คนเราเดินทางอยู่บนทางสายกลาง ใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความดี ซึ่งจะถือเป็นเรื่องที่จะทำแล้ว ทำให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้านั่น โดยหากเป็นข้อห้ามหลักๆแล้ว ได้แก่ ห้ามพูดว่าร้ายใส่พ่อแม่ ครูบาอาจารย์และผู้อื่นด้วย ห้ามนอกใจคู่รักของตน ไม่คบชู้ ห้ามดื่มสุราและของมึนเมาทุกชนิด ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนอกจากแล้วนี้ผู้บูชาเครื่องรางสามารถสอบถามกับผู้ให้ขายเครื่องรางได้เครื่องรางที่ตนจะบูชานั้นมีข้อห้ามอะไรอีกบ้าง 

บูชาพระเครื่อง

3. การทำพิธีในการปลุกเสกเครื่องรางนั้นควรประกอบพิธีกรรมด้วยนักบวช เจ้าหน้าที่ของวัดหรือศาลเจ้านั้นเพียงเท่านั้น การประกอบพิธีกรรมเช่นนี้เพื่อเป็นการเพิ่มพลังอำนาจให้เครื่องรางนั้นตามแต่ความสามารถของเครื่องราง ในการทำพิธีของศาลเจ้าและวัดนั้นต่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว บางวัดหรือบางศาลเจ้านั้นจะมีพระเกจิอาจารย์ที่ชื่อเสียงโด่งดังอยู่แล้ว โดยส่วนมากสายมูมักจะรู้ดีว่าวัดหรือศาลเจ้าไหนจะเด่นในเรื่องอะไร เช่น ความรัก การงาน การเงิน การเรียน สุขภาพ ความสุข ความแคล้วคลาด ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เป็นต้น ผู้คนก็จะไปวัดหรือศาลเจ้านั้น ในการทำพิธีของวัดหรือศาลเจ้า จะต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนในการทำพิธี และที่บุคคลที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นผู้ทำพิธีจะประกอบไปด้วยปุโรหิต ผู้ทรงศีล นักบวช นักบุญ เป็นต้น  บุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำพิธีก็จะไม่สามารถทำพิธีแทนได้  หลายคนคิดว่าการนำเครื่องรางไปไหว้ต่อหน้าพระจะเป็นการทำพิธีแล้ว นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดการกราบไหว้พร้อมเครื่องรางนั้นไม่ได้ถือว่าเป็นการทำพิธีใดๆ เลย

ยังมีเรื่องราวของเครื่องรางของขลังอีกมากมาย ติดตามได้ที่ สายมู.com

You may also like

Leave a Comment