พระไตรปิฎก คัมภีร์ที่รวบรวมคำสอนของศาสนาพุทธเอาไว้ทั้งหมด 

by saimu
0 comment
พระไตรปิฎก

ในแต่ละศาสนาก็จะมีสิ่งที่จารึกคำสอนต่าง ๆ ของศาสดาเอาไว้ อย่างเช่นในศาสนาคริสต์มีคัมภีร์ไบเบิล และในศาสนาพุทธของเราก็มีสิ่งที่เรียกว่า พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่ได้รวบรวมเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่มีการทำขึ้นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลและสังคายนาเรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน เพื่อให้มีความแม่นยำและเข้ากับยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้นกว่าเดิม วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับพระไตรปิฎกกันว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีกี่เล่ม และแต่ละเล่มมีใจความอย่างไรบ้าง 

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ทำความรู้จักกับพระไตรปิฎก หนังสือรวบรวมคำสอนที่ทำกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล 

พระไตรปิฎก

ตามตำนานเล่าว่า พระไตรปิฎก เกิดขึ้นหลังจากที่พระอานนท์และพระจุนทเถระได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระจุลทะให้รวบรวมหลักคำสอนของตนและสังคายนาขึ้น เพื่อเป็นการรักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ 

ดังนั้นคัมภีร์ดังกล่าวจึงเป็นหนังสือรวบรวมหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ ที่เริ่มทำกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล สมัยที่พระพุทธเจ้ายังคงมีพระชนม์ชีพอยู่ ถูกส่งต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 2,500 ปี ในยุคสมัยที่ไม่มีอุปกรณ์สื่อสารและการจดบันทึก พระภิกษุก็มักจะจำหลักธรรมเอาไว้กับตน พระสงฆ์ที่มีความจำเป็นเลิศอย่างพระอุบาลีที่สามารถจดจำพระธรรมได้มากกว่าใคร 

ด้วยเหตุนี้จึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นคนตอบคำถามในพระวินัยปิฎก เมื่อมีการทำสังคายนาขึ้นครั้งแรก ปัจจุบันพระไตรปิฎกเป็นหนังสือที่ประชาชนทั่วไปก็สามารถหาซื้อมาเก็บไว้ เพื่อศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาได้ จัดทำโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีจำนวนทั้งสิ้น 45 เล่ม บรรจุคำสอน 84,000 ธรรมขันธ์ เป็นการรำลึก 45 พรรษาพุทธกิจ ประกอบไปด้วย 

พระไตรปิฎก

พระวินัยปิฎก 

เป็นพระไตรปิฎกที่จะระบุถึงวินัยและข้อปฏิบัติ เกี่ยวกับความเป็นอยู่ การประพฤติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิต และการดำเนินการของเหล่าพระภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ สามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 5 ส่วน ประกอบไปด้วย 

  1. ศีลของพระภิกษุหรือมหาวิภังค์ 
  2. ศีลของพระภิกษุณีหรือภิกขุนีวิภังค์ 
  3. เรื่องสำคัญหรือมหาวรรค
  4. เรื่องสำคัญรองลงมาหรือจุลวรรค
  5. เรื่องเบ็ดเตล็ดหรือบริวาร

สำหรับฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ในส่วนพระวินัยปิฎกนั้นจะมีจำนวนทั้งหมด 8 เล่มด้วยกัน ส่วนที่ 1 จะอยู่ในเล่มที่ 1 และ 2 ส่วนที่ 2 จะอยู่ในเล่มที่ 3 ส่วนที่ 3 จะอยู่ในเล่มที่ 4 และ 5 ส่วนที่ 4 จะอยู่ในเล่มที่ 6 และ 7 ส่วนที่ 5 จะอยู่ในเล่มที่ 8 

พระสุตตันตปิฎก

เป็นพระไตรปิฎกประมวลพุทธพจน์เกี่ยวกับการเทศนาหรือการแสดงธรรมบรรยาย ที่พระพุทธเจ้าได้แสดงให้เกิดความเหมาะสมกับบุคคล สถานการณ์ โอกาส สถานที่ และเวลาที่ต่างกันออกไป มีทั้งแบบบทสนทนาโต้ตอบ แบบร้อยกรองร้อยแก้ว แบบร้อยแก้วผสมร้อยกรอง สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน ประกอบไปด้วย 

  1. พระสูตรขนาดยาว หรือที่เรียกว่าทีฆทิกาย มีทั้งหมดจำนวนกว่า 34 สูตรอยู่ในหนังสือเล่มที่ 9 ถึงเล่มที่ 11
  2. พระสูตรขนาดกลาง หรือที่เรียกว่ามัชฌิมนิกาย มีจำนวนทั้งหมดกว่า 152 สูตร อยู่ในหนังสือเล่มที่ 12 ถึงเล่มที่ 14
  3. พระสูตรที่ได้รวบรวมและประมวลคำสอนในกลุ่มเดียวกัน จัดเอาไว้เป็นหมวดหมู่ หรือที่เรียกว่าสังยุตตนิกาย มีจำนวนทั้งหมดถึง 7,762 สูตร อยู่ในหนังสือเล่มที่ 15 ไปจนถึงเล่มที่ 19
  4. เป็นหลักธรรมที่ถูกระบุเอาไว้เป็นข้อจำนวนทั้งหมด 11 ข้อหรือมากกว่านั้น มีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่าอังคุตตรนิกาย มีจำนวนทั้งหมดถึง 9,557 สูตร อยู่ในหนังสือตั้งแต่เล่มที่ 20 ไปจนถึงหนังสือเล่มที่ 24
  5. เรื่องเบ็ดเตล็ดหรือเรื่องเล็กน้อยจำนวนทั้งหมด 15 หัวข้อ หรือที่เรียกว่าขุททกนิกาย มีจำนวนมากมายจนไม่สามารถนับจำนวนได้แต่อย่างใด อยู่ในหนังสือเล่มที่ 25 ถึงหนังสือเล่มที่ 33 
พระไตรปิฎก

พระอภิธรรมปิฎก 

เป็นพระไตรปิฎกที่จะพูดถึงคำสอนโดยอธิบายในแง่วิชาการ แบบไม่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลหรือเหตุการณ์แต่อย่างใด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคำสอนเกี่ยวกับจิตวิทยารวมไปถึงอภิปรัชญาในศาสนาพุทธ แบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 7 ส่วน ประกอบไปด้วย 

  1. การรวมกลุ่มธรรมะ หรือที่เรียกว่าธัมมสังคณี อยู่ในหนังสือเล่มที่ 34
  2. การแยกกลุ่มธรรมะ หรือที่เรียกว่าวิภังค์ อยู่ในหนังสือเล่มที่ 35
  3. ธาตุ หรือที่เรียกว่าธาตุกถา อยู่ในหนังสือเล่มที่ 36 ส่วนแรก
  4. บัญญัติความรู้ทั่วไป อย่างเช่นบัญญัติบุคคล หรือที่เรียกว่าบุคคลบัญญัติ อยู่ในหนังสือเล่มที่ 36 ส่วนหลัง 
  5. การถามตอบทางศาสนาเพื่อให้เห็นข้อผิดพลาด หรือที่เรียกว่ากถาวัตถุ อยู่ในหนังสือเล่มที่ 37
  6. ธรรมะที่ถูกจับเข้ากันเป็นคู่ หรือที่เรียกว่ายมก อยู่ในหนังสือเล่มที่ 38 ถึงเล่มที่ 39
  7. ปัจจัย เป็นสิ่งที่เกื้อกูลเพื่อให้เกิดผลจำนวนทั้งหมด 24 ปัจจัย หรือที่เรียกว่าปัฏฐาน อยู่ในหนังสือเล่มที่ 40 ถึงเล่มที่ 45 

อยากเห็นพระไตรปิฎกของจริงต้องไปที่ไหน 

พระไตรปิฎก

หากคุณอยากเห็นพระไตรปิฎกของจริงเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยของเราเองความจริงแล้วมีวัดขนาดใหญ่ในแต่ละจังหวัด ที่เปิดหอไตรให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าไปเยี่ยมชมหนังสือของจริงได้ หากคุณต้องการจะเปิดอ่านก็สามารถสอบถามทางวัดได้ว่ามีการอนุญาตหรือไม่ 

เนื่องจากคัมภีร์บางฉบับมีอายุที่ยาวนานเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงถือได้ว่าว่าเป็นของที่มีคุณค่าที่บางวัดอาจจะไม่ได้อนุญาตให้เราสัมผัสของจริงแต่อย่างใด หรือหากคุณอยากเห็นของจริงที่มีความสำคัญและระบุพระธรรมเอาไว้มาตั้งแต่ในยุคโบราณ ก็มีอยู่เล่มหนึ่งในประเทศไทยนั่นก็คือ 

พระไตรปิฎกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนนั่นเอง ทำจากกระดาษสาถูกพับเป็นสมุดไทย เขียนด้วยอักษรจีนเป็นภาษาบาลีในยุคโบราณด้วยหมึกจีน มีจำนวนทั้งหมดกว่า 7,300 เล่ม และยังมีสารบัญอีก 1 ผูกด้วย คัมภีร์ดังกล่าวถูกเก็บรักษาเอาไว้เป็นอย่างดีในอาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา ภายในพระราชวังดุสิต 

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สายมู.com

You may also like

Leave a Comment