สัปเหร่อ ผู้ส่งวิญญาณสู่สุคติ บทบาทหน้าที่ และความศรัทธา

by saimu
0 comment
สัปเหร่อ

หนึ่งในอาชีพที่หลายคนรู้สึกหวาดกลัวและคิดว่าตัวเองไม่กล้าทำอย่างแน่นอนก็คงจะหนีไม่พ้น “สัปเหร่อ” แม้ว่าชื่อเรียกของอาชีพและงานของพวกเขาจะไม่ค่อยน่าภิรมย์สักเท่าไหร่ แต่อาชีพดังกล่าวก็ถือว่ามีความสำคัญในสังคมเช่นกัน และยังถือว่าเป็นงานที่มีทั้งเกียรติและศักดิ์ศรีด้วย หากไม่มีใครทำอาชีพนี้ก็ยากที่เราจะจากโลกใบนี้ไปอย่างสงบสุขและสู่สุคติ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอาชีพนี้ให้มากขึ้น พวกเขาทำอะไร มีจุดกำเนิดมาจากไหน และสร้างรายได้ประมาณเท่าไหร่

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

สัปเหร่อ อาชีพโบราณผู้ส่งดวงวิญญาณให้ไปสู่สุคติ

สัปเหร่อ

สัปเหร่อ เป็นอาชีพที่ต้องทำพิธีกรรมเกี่ยวกับความเป็นความตายตลอดเวลา สัมผัสกับการจากลาและความโศกเศร้าของครอบครัวผู้เสียชีวิตที่มีอยู่เป็นประจำทุกวัน มันจึงไม่ใช่อาชีพที่จรรโลงใจเลยแม้แต่น้อย แต่หากไม่มีใครทำอาชีพดังกล่าวเลยแม้แต่คนเดียว เราก็คงต้องมานั่งเผาศพกันเองอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น อาชีพดังกล่าวจึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพ ที่ทั้งทรงคุณค่าและต้องอาศัยการเสียสละจนน่ายกย่อง

มีบทความบนนิตยสารเจ้าหนึ่งระบุถึง 12 สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการเป็นสัปเหร่อ อาชีพที่ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่เผาหรือฝังศพอย่างเดียวเท่านั้น ในบทความระบุว่า อาชีพดังกล่าวนั้นเป็นงานที่รู้สึกเหนื่อยทั้งกายและใจ ยิ่งในบางช่วงที่ต้องรับงานหลายเจ้าพร้อมกัน บางคนอาจต้องรับโทรศัพท์ตอนกลางดึกเพื่อไปจัดงาน และหลายครั้งยังอาจต้องเจอผู้เสียชีวิตอนาถา ผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็กเล็กก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

นอกจากนี้ยังต้องรับมือกับคำร้องขอพิเศษที่แปลกประหลาดของครอบครัวผู้เสียชีวิตอีกด้วย ทำให้ต้องทำความเข้าใจผู้สูญเสียและมีทักษะในการเจรจาไปพร้อม ๆ กัน สิ่งที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เมื่อทำงานเป็นสัปเหร่อคือ การต้องเห็นคนร้องไห้ และก็เป็นหน้าที่ที่จะต้องเตรียมทิชชูให้พร้อมอยู่ตลอดด้วยเช่นกัน 

และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดก็คือ บรรยากาศในงานศพที่โศกเศร้า ไม่ใช่ว่าญาติผู้เสียชีวิตทุกคนจะแสดงออกด้วยการร้องไห้เพียงอย่างเดียว แต่บางคนยังมีพฤติกรรมอารมณ์รุนแรงที่แสดงออกมาอย่างหลากหลายด้วย ดังนั้น สัปเหร่อจึงต้องเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

รู้หรือไม่ อาชีพสัปเหร่อในต่างประเทศรายได้ดีกว่าที่คุณคิด

สัปเหร่อ

สัปเหร่อเป็นอาชีพที่หลายคนกังวลว่า หากทำไปแล้วจะส่งผลต่อดวงชะตาหรือไม่ เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับความตายอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังมองว่าเป็นอาชีพที่ได้เงินไม่เยอะ ได้ไม่คุ้มเสี่ยง ต้องจัดการกับร่างผู้เสียชีวิตที่ไม่ค่อยโสภาสักเท่าไหร่ แถมยังมีโอกาสเจอกับวิญญาณมากกว่าอาชีพอื่นด้วย

แต่ทราบหรือไม่ว่าในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันตก ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถเป็นสัปเหร่อได้ เพราะจะต้องมีความชำนาญและมีประสบการณ์ เนื่องจากพวกเขาจัดการในรูปแบบบริษัทด้านการจัดการศพแบบครบวงจร

เริ่มต้นตั้งแต่การจัดทำเอกสารทั้งหลาย การเตรียมสถานที่ให้พร้อม เตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในพิธี ไปจนถึงขั้นตอนการจัดการกับร่างผู้เสียชีวิตเลยทีเดียว ครอบครัวของผู้เสียชีวิตจึงมีหน้าที่เพียงแค่จ่ายเงินให้กับบริษัทที่จัดงานเป็นค่าบริการและเดินทางมาร่วมงานเท่านั้น ไม่ต้องทำอะไรด้วยตัวเองเลย

สัปเหร่อ

เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่ามันจะเป็นงานที่ไม่พึงประสงค์สักเท่าไหร่ แต่มันกลับเป็นงานที่สามารถสร้างรายได้ได้อย่างงดงาม เว็บไซต์บริการอาชีพแห่งชาติในประเทศอังกฤษระบุข้อมูลรายได้ของสัปเหร่อเอาไว้ว่าสูงถึง 8.7 แสนบาท ไปจนถึง 1.1 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว

นอกจากนี้ในปี 2014 เว็บไซต์ในประเทศแคนาดายังออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า งานบริการดูแลงานศพอาจสร้างรายได้ได้สูงสุดกว่า 1.3 ล้านบาทต่อปี หากมีประสบการณ์ก็จะยิ่งมีรายได้สูงขึ้นตามไปด้วย

แตกต่างจากในประเทศไทย รายได้ของสัปเหร่อไม่มีเปิดเผยให้ได้รับรู้กันสักเท่าไหร่ แต่ก็มีข้อมูลที่เคยรายงานโดยผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับรายได้ว่าจะมีการรับจ้างเป็นครั้งคราว คอยดูแลเรื่องการจัดการกับร่างของผู้เสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเผาหรือการฝัง ครั้งละประมาณ 1,000 บาทขึ้นไป

แต่ทั้งนี้ ในประเทศไทยของเราก็มีธุรกิจการจัดการเกี่ยวกับงานศพมืออาชีพในลักษณะเดียวกับต่างประเทศเช่นกัน เพียงแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมสักเท่าไหร่ เนื่องจากค่าบริการค่อนข้างสูง

ความเป็นมาของอาชีพสัปเหร่อในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของผู้ทำพิธีในงานศพ

สัปเหร่อ

สัปเหร่อ เป็นอาชีพที่ถูกระบุความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554 เอาไว้ว่า “เป็นผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับศพตั้งแต่มัดตราสัง จนกระทั่งนำไปเผาหรือฝัง” อาชีพดังกล่าวจึงถือว่ามีความผูกพันกับความเชื่อของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ อยู่เคียงคู่กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

สิ่งที่น่ากังวลของอาชีพสัปเหร่อก็คือ ในช่วงเวลานี้ถือว่าขาดแคลนเป็นอย่างมาก เพราะมีคนจำนวนเพียงหยิบมือเท่านั้นที่สนใจอยากทำอาชีพนี้จริง ๆ

มีบันทึกในสมัยรัชกาลที่ 5 พูดถึงหน้าที่ของคนปลงศพหรือสัปเหร่อว่า พวกเขาต้องจัดการความน่าสยดสยองของผู้เสียชีวิตให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยและอยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียมไม่เว้นแม้กระทั่งคนไร้บ้านก็ตาม

ในเวลาต่อมา อาชีพสัปเหร่อก็มีการทำอย่างเป็นกิจจะลักษณะมากขึ้น ในยุคสมัยที่เรายังคงใช้ชื่อประเทศว่าสยาม โดยมีการประกาศใช้กฎหมายเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยป่าช้าและนายป่าช้าเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ทำให้นายป่าช้ากลายเป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดการศพอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สายมู.com

You may also like

Leave a Comment