เสาหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เปรียบเสมือนกับหมุดหมายของเมือง

by saimu
0 comment
เสาหลักเมือง

ในประเทศไทยของเรานั้นแต่ละจังหวัดก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า เสาหลักเมือง ลักษณะจะเป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นมาครอบเสาจำนวนตั้งแต่ 1 ต้นขึ้นไป เสาเหล่านี้เป็นประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณในสมัยสุโขทัยกันเลยทีเดียว ย้อนกลับไปในอดีตเสาเหล่านี้มีความสำคัญและมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ความเป็นมาของเสาหลักเมืองเหล่านี้เป็นอย่างไร เราจะพาทุกคนไปดูกัน 

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ทำความรู้จักกับเสาหลักเมือง สถานที่อันเต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ 

เสาหลักเมือง

เสาหลักเมือง นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนนิยมเดินทางไปกราบไหว้บูชาเป็นอย่างมาก เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยให้ชีวิตสงบร่มเย็น มันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่จะตั้งขึ้นเพื่อช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับบ้านเมือง ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วตัวเสาจึงมักจะถูกทำมาจากไม้ที่มีความหมายเป็นมงคลอย่างเช่น ราชพฤกษ์หรือชัยพฤกษ์ 

บ้างก็ใช้หลักหินหรือใบเสมาที่พบในบริเวณพื้นที่ที่จะมีการสร้างเมือง ตัวเสาจะเป็นลำต้นและบริเวณตรงปลายจะถูกแกะสลักให้เป็นดอกบัวตูม บ้างก็ถูกแกะสลักให้เป็นหน้าของเทวดา ศาลที่เป็นสถานที่ตั้งของเสา มักถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย ทำให้มีประตูถึง 4 ด้าน 

เมื่อเข้าไปข้างในจะรู้สึกโปร่งและโล่งสบาย ยอดด้านบนก็มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบจีน แบบมณฑป แบบปรางค์ และแบบปราสาท แล้วแต่ว่าในพื้นที่นั้นมีความศรัทธาในการก่อสร้างแบบใด ส่วนใหญ่จะมีองค์ประธานของศาลเจ้าเป็นเทวรูปที่ถูกแกะสลักด้วยไม้หรือหิน ผู้คนมักเรียกในชื่อเจ้าพ่อหลักเมือง

สถานที่ตั้งก็มีมากมายอย่างเช่น อยู่หน้าศาลากลางจังหวัดหรือในชุมชนเมืองเก่า เป็นหมุดหมายว่าที่ตรงนี้ครั้งหนึ่งเคยถูกสร้างเป็นเมืองขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ในปัจจุบันบางพื้นที่ก็ถูกลดสถานะจากเมืองหรือจังหวัดให้กลายเป็นอำเภอไป ดังนั้นในบางอำเภอก็อาจจะมีเสาหลักเมืองเป็นของตัวเองก็ได้เช่นเดียวกัน 

ย้อนรอยประวัติศาสตร์การสร้างเสาหลักเมืองที่ต้องสังเวยชีวิตผู้คน 

เสาหลักเมือง

หากจะพูดถึงความเป็นมาของเสาหลักเมือง เราต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว ในยุคดังกล่าวศาสนาพราหมณ์และประเพณีที่เกี่ยวข้อง ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยจากชมพูทวีปหรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน 

ซึ่งเกิดจากการติดต่อค้าขายระหว่างชาวไทยและพ่อค้าชาวอินเดียในยุคนั้น เมื่อชาวอินเดียเข้ามาตั้งรากฐานก็ทำให้ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีถูกสอดแทรกเข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยด้วยเช่นเดียวกัน 

เมื่อจะมีการสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ไม่ว่าที่ใดก็ตาม สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือการหาฤกษ์ยามที่ดีเพื่อทำการฝังเสาลงไปในดิน จึงนับว่าเป็นการดำเนินการสร้างเมืองใหม่อย่างเป็นทางการ มันเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่จะมีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นมา 

แต่สำหรับชาวบ้านแล้วมันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสยองขวัญไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะการจะฝังเสาจำเป็นต้องเอาบุคคลที่มีชีวิตขังทั้งเป็นลงไปในหลุมด้วย เพื่อให้พวกเขากลายเป็นเทพาอารักษ์คอยปกป้องบ้านเมือง เฝ้าสมบัติ ป้องกันโรค รวมไปถึงศัตรูทั้งหลายที่จะบุกเข้ามาโจมตี

เสาหลักเมือง

พิธีกรรมสร้างเสาหลักเมืองจึงจะต้องหาคนทั้งหมด 4 คนที่มีชื่อเป็นมงคล ประกอบไปด้วย อิน จัน มั่น และ คง เวลาจะสร้างเสาก็จะมีการส่งทหารออกมาเดินตามบ้านเรือนในเวลาต่าง ๆ จากนั้นก็ตะโกนสุ่มเรียกชื่อ หากใครดันขานรับ ก็จะถูกพาตัวไปเลี้ยงดูปูเสื่อเป็นอย่างดี 

ทำให้อิ่มหนำสำราญ ได้อยู่อย่างสุขสบาย โดยที่ไม่รู้เลยว่าพวกเขาจะต้องพบกับอะไรในอนาคต ซึ่งคนที่จะกลายมาเป็นเครื่องสังเวยบูชายัญในพิธี นอกจากจะต้องมีชื่อเป็นมงคลแล้วยังต้องมีลักษณะตามที่โหรกำหนดไว้อีกด้วยนั่นก็คือ 

ต้องไม่เป็นผู้ต้องโทษประหาร อยู่ในวัยที่แตกต่างกัน มีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย เป็นที่รักของชาวบ้าน เกิดตามฤกษ์ที่ดี ไม่มีรอยสัก ไม่เจาะหู เมื่อผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้ต้องถูกนำตัวไปทำพิธีก็จะได้รับอนุญาตให้สั่งเสียและร่ำลาญาติพี่น้อง 

จากนั้นจะถูกนำตัวเอาไปนอนแผ่ลงหลุมและสั่งเสียให้ทำหน้าที่ในการรักษาบ้านเมืองเอาไว้ หลังจากพิธีเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการตัดเชือกที่ใช้แขวนท่อนซุงอยู่ให้ตกลงมากระทบกับหลุมที่ขุดเอาไว้ ซึ่งในนั้นมีผู้เคราะห์ร้ายที่จะถูกฝังทั้งเป็นไปพร้อมกับเสาด้วย 

แม้ว่าญาติพี่น้องจะได้รับพระราชทานรางวัล แต่ไม่มีใครเต็มใจที่จะรับรางวัลดังกล่าวสักเท่าไหร่ เพราะหากเลือกได้คงไม่มีใครอยากสูญเสียญาติพี่น้องไปอย่างแน่นอน 

เสาหลักเมืองกรุงเทพฯ จุดเริ่มต้นยุครัตนโกสินทร์ที่ไม่มีการสังเวยผู้คนอีกต่อไป 

เสาหลักเมือง

ด้วยประวัติที่ค่อนข้างโหดร้าย ทำให้เสาหลักเมืองกลายมาเป็นความสยองขวัญสำหรับชาวบ้านในยุคนั้น ถึงขั้นที่มีการสั่งสอนลูกหลานว่าไม่ให้ตอบรับเสียงเรียกขานที่ไม่รู้จักหรือได้ยินในยามวิกาลกันเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามการสังเวยเหยื่อในพิธีตั้งเสาตามความเชื่อโบราณก็หยุดลงในสมัยอยุธยา 

นั่นก็เป็นเพราะว่าหลังจากที่รัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมา ก็ได้มีการจัดตั้งเสาหลักเมืองขึ้นเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าไม่นำเอาชาวบ้านมาทำพิธีสังเวยแต่อย่างใด ตัวเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ นั้นเป็นแห่งเดียวที่มีเสา 2 ต้น และวางอยู่ไม่ไกลจากกันเท่าไหร่ 

เสาต้นแรกถูกสร้างในสมัยของรัชกาลที่ 1 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2324 ตัวเสาเป็นไม้ชัยพฤกษ์ที่ถูกลงรักปิดทอง ยอดเป็นดอกบัวตูม ข้างในมีช่องบรรจุดวงชะตาของเมืองเอาไว้ แต่ถึงแม้ว่าจะไม่ได้สังเวยชีวิตมนุษย์ ในงานพิธีกลับมีงูขนาดเล็ก 4 ตัวเลื้อยลงไปในหลุมเสียอย่างนั้น 

ด้วยเหตุนี้จึงต้องปล่อยเลยตามเลยด้วยการปล่อยเสาทับงูทั้ง 4 ตัวนั้นไป ช่วงเวลานั้นมีคำทำนายว่าบ้านเมืองจะมีเคราะห์ร้ายถึง 7 ปี 7 เดือนกว่าจะพ้นเคราะห์ เป็นช่วงเวลาที่ไทยกับพม่ามีศึกหนักตามเวลาดังกล่าวจริง และยังทำนายว่าวงศ์กษัตริย์จะสืบต่อไปอีก 150 ปี ไปครบในปี 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองพอดิบพอดี 

ว่ากันว่าสาเหตุที่วงศ์กษัตริย์ยังคงดำเนินต่อไปได้เกินกว่า 150 ปี เกิดมาจากรัชกาลที่ 4 ที่มีการแก้อาถรรพ์ทำการถอนเสาหลักเมืองเก่าออกมาและวางดวงเมืองใหม่ จึงเป็นที่มาว่าทำไมในกรุงเทพฯ จึงมีเสาถึง 2 ต้น นั่นเอง

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สายมู.com

You may also like

Leave a Comment