วิปัสสนากรรมฐานเกิดผลดีทั้งทางโลกและทางธรรม

by saimu
0 comment
วิปัสสนากรรมฐาน

วิปัสสนากรรมฐานเป็นวิชาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ ที่ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องสามารถหลุดพ้นไปจากอำนาจการครอบงำของกิเลส โดยปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง อันนำมาซึ่งการดับทุกข์และความสงบสุขทั้งกายและใจ “การปล่อยวางและไม่ยึดติด” หากว่าคุณสามารถปล่อยวางและไม่ยึดติดได้แล้ว คุณจะรู้สึกเป็นอิสระ ผ่อนคลาย และมีความสบายทั้งกายและใจ วันนี้ สายมู.com จะพาทุกคนไปทำความรู้จักและวิธีการในการปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ไปติดตามกันได้เลย

วิปัสสนากรรมฐาน

ความหมายของวิปัสสนากรรมฐาน

วิ แปลว่า แจ่มแจ้ง แตกต่างและวิเศษกว่าการหยั่งรู้โดยโลกวิธี

ปัสสนา แปลว่า การเห็น การหยั่งรู้ด้วยปัญญา ซึ่งเกิดจากวิปัสสนาวิธี

กรรม แปลว่า การกระทำ ในที่นี้มุ่งหมายเอาการบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ เพื่อฝึกฝน อบรม ขัดเกลา กำจัดกิเลส อันเป็นสาเหตุหลักของความทุกข์ทั้งหลาย 

ฐาน แปลว่า การงาน เป็นฐานหรือที่ตั้งในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 

วิปัสสนากรรมฐาน จึงหมายถึง การเพียรใช้สติปัญญา สัมปชัญญะ เข้าไปกำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายและใจ เพื่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้อย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งมิใช่จากการฟังผู้อื่นบอกเล่าหรือการคิดตามด้วยเหตุผล และการทำให้ใจเกิดความสงบ

วิธีการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้น

1. ยืนหนอ 5 ครั้ง

ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับมือซ้าย ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้สติจับอยู่ที่กระหม่อม กำหนดว่ายืนหนอ ช้า ๆ 5 ครั้ง เริ่มจากศีรษะลงไปที่ปลายเท้า และจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะ จนครบ 5 ครั้ง

วิปัสสนากรรมฐาน

2. เดินจงกรม

ก้มหน้า ลืมตา ตามองที่ปลายเท้าข้างที่กำหนด สติจับอยู่ที่เท้า การเดินกำหนดว่า ขวาย่างหนอ กำหนดในใจ เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดคำว่า ซ้ายย่างหนอ ปฏิบัติเช่นเดียวกับ ขวาย่างหนอ ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ 1 คืบ

วิปัสสนากรรมฐาน

3. นั่งสมาธิ

นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรง หลับตา นำสติมาจับอยู่ที่สะดือที่ท้องพองยุบ เวลาหายใจเข้าท้องพองกำหนดว่า พองหนอ ใจกับท้องต้องให้ทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน อย่าดูลมที่จมูก อย่าตะเบ็งท้อง ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริง ให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไป จนกว่าจะครบเวลากำหนด

วิปัสสนากรรมฐาน

หลักการสติปัฏฐาน 4

1. กายานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามอาการของร่างกายเช่น ยืน นอน นั่ง ดื่ม กิน ขับถ่าย เป็นต้น

2. เวทนานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางใจเช่น ดีใจ เสียใจ เฉย ๆ

3. จิตตานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูจิต ความนึกคิดต่าง ๆ

4. ธัมมานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูหมวดธรรมต่าง ๆ เช่น การกำหนดในสัมผัสทั้ง 6 คือ เมื่อตาเห็น รูปก็กำหนดการเห็น หูฟังเสียงก็กำหนดการได้ยิน เป็นต้น

ประโยชน์แห่งวิปัสสนา

1. บำบัดทุกข์ บำรุงสุข

2. บำบัดความเขลา บำรุงปัญญา

3. บำบัดความรู้สึกฝ่ายต่ำ 

4. บำรุงความดีงาม

ประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวิปัสสนาคือ สามารถพัฒนาบุคคลให้เกิดปัญญาจน สามารถหลุดพ้นจากวงจรการเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือที่เรียกว่าวัฏสงสารได้อย่างถาวรคือ นิพพาน

You may also like

Leave a Comment