ทำความรู้จักกับปฏิทินโหราศาสตร์

by saimu
0 comment
ปฏิทินโหราศาสตร์

ในการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ พิธีกรรม หรือศาสตร์โบราณของไทย ต้องใช้วันเดือนปีเกิดตามปฏิทินโหราศาสตร์ เพราะบางครั้งวันเกิดตามที่ผู้พยากรณ์ใช้ตั้งต้น ไม่ตรงกับวันเกิดปีเกิดตามสูติบัตรหรือตามที่เข้าใจ ตำราสุริยยาตร์และมานัต เป็นตำราสำหรับคำนวณตำแหน่งของดวงดาว ซึ่งใช้ในวงการโหราศาสตร์ไทย มีข้อสันนิษฐานโดยอิงจากหลักฐานทางโบราณคดีว่า ตำราสุริยยาตร์และมานัตมีใช้ในวงการโหราศาสตร์ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว และในสมัยอยุธยาก็มีหลักฐานปรากฏถึงการมีอยู่ของตำราชุดนี้ เนื่องจากความแตกต่างกันของปฏิทินโหราศาสตร์ไทยแต่ละชุดหรือแต่ละเล่ม เพื่อทราบถึงที่มาของปฏิทิน สายมู.com ได้ทำการสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้

ปฏิทินโหราศาสตร์

ความเป็นมาปฏิทินโหราศาสตร์

ย้อนไปประมาณ 100 กว่าปี ประเทศไทยยังใช้ปฏิทินจันทรคติอยู่ ตอนนั้นชื่อเดือนมกราคม ยังไม่มีใครรู้จัก ผู้คนสมัยก่อนจะรู้จักแต่วันแรมค่ำ เดือนอ้าย ยี่ ปีชวด ฉลู เท่านั้น คนรุ่นปู่ย่า รุ่นทวดจะจำวันเกิด เช่น วันศุกร์ เดือนยี่ ปีกุน และหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงเริ่มใช้วันเดือนปีตามสากล วันทางจันทรคติก็เหลือใช้เฉพาะกลุ่มเช่น ทางโหราศาสตร์ พิธีกรรม ศาสนา ส่วนอื่น ๆ จะใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลเกือบทั้งหมด ดังนั้นหากจะใช้ตำราโหราศาสตร์ พิธีกรรม แบบเก่าก็ควรต้องเข้าใจหลักปฏิทินแบบเก่าด้วย จะนำเงื่อนไขปฏิทินสุริยคติปัจจุบันมาใช้ไม่ได้ ต้องเปรียบเทียบหาวันเวลาที่ถูกต้องก่อนใช้ สำหรับความสับสนในเรื่องการใช้ปฏิทินสุริยคติและปฏิทินจันทรคติ แบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก ๆ ตามการนับรอบวันที่ใช้ในทางโหราศาสตร์

การนับวันเวลาเกิดปฏิทินโหราศาสตร์

สมัยโบราณไม่มีนาฬิกา การนับวัน จะถือเอาเวลาพระออกบิณฑบาต คือเวลาเช้า ดังนั้นการนับรอบวันที่ใช้ในทางโหราศาสตร์ จะใช้ปฏิทินจันทรคติไทย โดยถือรอบวันตามดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นหลัก เช่น 06.00 น.-05.59 น. ส่วนการนับรอบวันจันทรคติจะใช้แบบนั้นทั้งหมด จะมีวันพุธที่แยกย่อยคือ เกิดวันพุธช่วงเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น ถึงดวงอาทิตย์ตก จะเรียกว่าวันพุธกลางวัน หากเกิดช่วงเวลาหลังดวงอาทิตย์ตกในวันพุธ ก่อนถึงวันพฤหัสบดี จะเรียกว่าพุธกลางคืน

การเปลี่ยนปีนักษัตรปฏิทินโหราศาสตร์

การเปลี่ยนปีนักษัตรมีหลายแบบเช่น การเปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันเถลิงศก ช่วงวันที่ 15-17 เมษายน เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันสังขารล่องหรือวันสงกรานต์ ใช้ปีนักษัตรแบบใด ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ทำการใด เช่น พยากรณ์ทางโหราศาสตร์แบบไทย จะใช้ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ คือเปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า (5) 

ปฏิทินโหราศาสตร์

ทำไมต้องเปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า (5) ?

1. ใช้ตามข้อกำหนดในตำราซึ่งตำราหลัก ๆ เช่น ตำราเลข 7 ตัว กราฟชีวิต และพยากรณ์บุคคลตามปีนักษัตรเกิด ซึ่งจะใช้ปีนักษัตรตั้งต้นในการทำนาย

2. นักพยากรณ์ส่วนใหญ่จะใช้ปีนักษัตรแบบนี้เป็นหลัก

3.โหราศาสตร์แบบไทยที่ใช้ปีนักษัตร ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซึ่งช่วงเวลาอาจจะใกล้เคียงหรือแตกต่างกันนิดหน่อย

4. ตามหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน วันตรุษไทย วันรุ่งขึ้นเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า (5) ก็จะเริ่มปีนักษัตรใหม่ ปีใหม่ไทยแบบโบราณ

ทำไมปีนักษัตรในสูติบัตร จึงไม่ตรงกับปีนักษัตร ตอนดูดวงชะตา ?

สูติบัตรเป็นเอกสารทางราชการที่บันทึกวันเกิดแบบปฏิทินจันทรคติ โดยใช้เปลี่ยนปีนักษัตร วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย (1) ซึ่งไม่ตรงกับ ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ ที่เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า (5) ตามโบราณ บ่อยครั้งตอนดูดวง หมอดูจะถาม วันเดือนปี เวลาเกิด ทางสุริยคติสากลที่มีบันทึกในสูติบัตร แล้วนำมาเทียบในปฏิทินจันทรคติให้เอง ปีนักษัตรจึงแตกต่างกัน

You may also like

Leave a Comment