เทพารักษ์ สิ่งที่คอยปกปักรักษาผืนดินและต้นไม้ 

by saimu
0 comment
เทพารักษ์

หลายคนเชื่อกันว่าทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ล้วนแล้วแต่มีสิ่งที่คอยปกปักรักษาอยู่ ในประเทศไทยเองนั้นก็มีความเชื่อเกี่ยวกับ เทพารักษ์ ที่ทำหน้าที่ในการปกปักรักษาผืนดินและต้นไม้ ทำหน้าที่คอยดูแลพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้สงบสุขและอุดมสมบูรณ์ พวกเขานั้นอาศัยอยู่ทุกที่บนผืนดินและผืนน้ำ ในตอนที่ยังเป็นเด็กเชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินนิทานที่กล่าวถึงเทพองค์นี้มาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเทพารักษ์ให้มากขึ้นกัน ไปติดตามกันได้เลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ทำความรู้จักกับเทพารักษ์และนิทานที่ถูกเล่าขานต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

เทพารักษ์

เทพารักษ์ นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทำหน้าที่ในการปกปักรักษาสถานที่ โดยในแต่ละพื้นที่ที่รักษาอยู่นั้นก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป หากเทพองค์นั้นทำหน้าที่ในการปกปักรักษาบ้านเรือนของผู้คนก็จะถูกเรียกว่า พระภูมิเจ้าที่ หากอยู่ตามป่าไม้หรือในต้นไม้ใหญ่ก็จะเรียกว่า รุกขเทวดา 

ผู้คนมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพองค์นี้มาตั้งแต่ในยุคโบราณ สมัยที่ศาสนาพุทธยังไม่เข้ามาในประเทศไทย ผู้คนนับถือศาสนาผีจึงมีการเคารพบูชาทั้งเจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่ แม่ย่านาง ผีสางนางไม้ หรือพรายน้ำ ตามตำนานว่ากันว่า เทพารักษ์เป็นเทพที่อาศัยอยู่บนสวรรค์ มีหน้าที่ในการดูแลรักษาพื้นที่ 

ในฝั่งพุทธศาสนานั้นนับเป็นเทพในระดับที่ 1 บนสวรรค์ชั้นกามาพจรภพ ในทางศาสนาผีเชื่อว่าเป็นผีที่มองหาที่อยู่อาศัยหรือที่สิงสถิต บ้างก็ว่าที่บริเวณนั้นเป็นที่ของเขามาตั้งแต่ไหนแต่ไรและเขาก็ต้องการที่จะดูแลปกป้องสถานที่นั้นเอาไว้ จึงสิงสถิตอยู่ในบริเวณดังกล่าวและคอยปกปักรักษามาจนถึงในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะเป็นเทพแต่ก็จัดว่าอยู่ในชั้นต่ำจึงไม่ได้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์  

เทพารักษ์

ในประเทศไทยนั้นรู้จักเทพารักษ์จากนิทานอีสปเรื่อง เทพารักษ์กับคนตัดไม้ โดยเล่าถึงเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ทำอาชีพเป็นคนตัดไม้ วันหนึ่งเขาเข้าไปในป่าเพื่อตัดไม้ตามปกติแต่ดันทำขวัญหลุดมือและตกลงไปในบึง เขานั่งอยู่ข้างบึงด้วยความโศกเศร้าเพราะเสียดายขวานที่เป็นอุปกรณ์ในการทำมาหากิน 

แต่แล้วเทพารักษ์ก็ปรากฏตัวขึ้นมาด้วยความรู้สึกสงสารและช่วยเขาหาขวานในบึงน้ำ ในครั้งแรกเทพารักษ์ได้นำทองคำขึ้นมาและถามคนตัดไม้ว่าใช่ของคนตนหรือไม่ คนตัดไม้ตอบปฏิเสธว่าขวานเล่มนั้นไม่ใช่ของตนเอง ต่อมาครั้งที่ 2 ก็งมเอาขวานเงินขึ้นมาแต่ชายตัดไม้ก็ได้ปฏิเสธไปอีกครั้ง 

จนสุดท้ายก็ได้นำเอาขวานเหล็กที่เก่าจนแทบจะใช้งานไม่ได้ขึ้นมา คราวนี้คนตัดไม้รู้สึกดีใจเป็นอย่างมากเพราะมันคือขวานของเขาเอง เทพารักษ์รู้สึกชื่นชมในความซื่อสัตย์ของคนตัดไม้ จึงได้มอบทั้งขวานเงินและขวานทองให้กับเขาไปด้วย 

เมื่อเพื่อนของคนตัดไม้รู้เข้าก็นึกอิจฉาและอยากจะได้ขวานเงินขวานทองบ้าง ด้วยเหตุนี้เพื่อนของคนตัดไม้จึงทำตามคนตัดไม้ทุกอย่างจนขวานตกลงไปในบึง เทพารักษ์เห็นก็รู้สึกสงสารและปรากฏกายขึ้นมาอีกครั้ง คราวนี้หลังจากนำขวานทองคำมามอบให้ เพื่อนของชายตัดไม้ก็รีบตอบตกลงว่าเป็นของตนเองในทันที 

เทพารักษ์มองว่าชายคู่นี้เป็นคนที่โลภมากแถมยังโกหกจึงหายตัวไป ทำให้เพื่อนของคนตัดไม้นอกจากจะไม่ได้ขวานทองแล้วยังไม่ได้ขวานของตัวเองคืนอีกด้วย เป็นนิทานสอนใจที่ทำให้เรานั้นได้เรียนรู้ว่า

ความซื่อสัตย์จะทำให้เราได้รับผลดีกลับคืนมา แต่หากเราโป้ปดมดเท็จ โลภมาก สุดท้ายแล้วลาภก็จะหายไปในที่สุด เป็นการสะท้อนความเชื่อว่าเทพองค์นี้อยู่ปกปักรักษาทุกที่ หากเราเป็นคนดี ตั้งอยู่ในศีลในธรรม กราบไหว้บูชาอยู่ตลอด ก็จะช่วยให้เรานั้นโชคดีและมีเงินทองขึ้นมาได้นั่นเอง 

เปิดชื่อเทพารักษ์ที่ตั้งอยู่ในศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร 

เทพารักษ์

ในประเทศไทยนั้นมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพารักษ์เป็นอย่างมาก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าที่คอยปกปักรักษาสถานที่นั้น ๆ ให้อยู่รอดปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นตามศาลหลักเมืองจึงมีเทพองค์ดังกล่าวประดิษฐานอยู่ โดยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนั้นจะอยู่ที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ อยู่คู่กับศาลหลักเมืองมาตั้งแต่ในยุคของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีทั้งหมด 5 องค์ด้วยกันประกอบไปด้วย 

เทพารักษ์
  1. พระเสื้อเมือง เป็นเทวดาที่คนไทยหลายคนอาจเคยได้ยินชื่อมาก่อน โดยเป็นรูปหล่อสัมฤทธิ์ทอง ยืนประทับอยู่บนฐานที่เป็นสิงห์ มือซ้ายถือคธาวุธสวนมือขวาถือจักราวุธ เป็นเทพที่ทำหน้าที่ในการปกปักรักษาทั้งบนบกและในน้ำให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลาย ช่วยให้ไพร่พลต่างรักษาบ้านเมืองให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขและไม่มีศัตรูเข้ามารุกราน 
  2. พระทรงเมือง เป็นรูปหล่อสัมฤทธิ์ปิดทอง ยืนประทับอยู่บนฐานปัทม์ มือซ้ายถือว่าขันมือขวาถือสังข์ คอยทำหน้าที่โดยการดูแลสารทุกข์สุกดิบของผู้คนในแผ่นดินและดูแลให้เกิดความผาสุกทั่วทั้งแผ่นดิน
  3. พระกาฬไชยศรี เป็นรูปหล่อสัมฤทธิ์ปิดทอง เทพารักษ์องค์นี้มีถึง 4 แขน โดยประทับอยู่บนนกแสก มือซ้ายด้านบนถือเชือกมัดปราณของมนุษย์ที่ถึงฆาต มือซ้ายด้านล่างยกขึ้นมาเสมอสะดือ มือขวาบนชูชวาลา มือขวาล่างถือพระขรรค์ ทำหน้าที่เป็นบริวารของพญายมราชโดยป้องกันไม่ให้ใครก็ตามกระทำความชั่ว คอยดูแลสอดส่องคนที่อันตรายในตอนกลางคืน นอกจากนี้หากใครถึงฆาตยังมีหน้าที่นำตัวไปให้กับพญายมราชเพื่อชำระความอีกด้วย 
  4. เจ้าพ่อหอกลอง เป็นรูปหล่อสัมฤทธิ์ปิดทอง ยืนประทับอยู่บนแท่นแปดเหลี่ยม มือทั้งสองข้างยกขึ้นมาเสมอระดับหน้าอก มือขวาถือดอกบัว มือซ้ายถือเขาสัตว์ ทำหน้าที่ในการดูแลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินและรายงานเหตุร้ายให้กับพระเสื้อเมืองที่ทำหน้าที่ในการดูแลความเป็นไปของบ้านเมือง 
  5. เจ้าพ่อเจตคุปต์ เป็นรูปแกะสลักไม้ปิดทองที่ยืนประทับอยู่บนแท่น มือทั้งสองยกขึ้นมาเสมอหน้าอก มือขวาถือเหล็กจานส่วนมือซ้ายถือใบลานเอาไว้เขียนความชั่วของชาวเมืองที่ถึงแก่กรรม ทำหน้าที่ในการเป็นบริวารของพญายมราชอีกองค์หนึ่ง โดยจะนำเอาบันทึกที่จดถึงความชั่วร้ายของผู้คนไปเสนอให้กับพญายมราชเพื่อทำการชำระความต่อไป 

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สายมู.com

You may also like

Leave a Comment