ชูชก จากตัวละครในนิทานชาดกสู่การเป็นเครื่องราง 

by saimu
0 comment
ชูชก

ตอนที่เรายังเป็นเด็กเชื่อว่าหลายคนคงได้เรียนเกี่ยวกับศาสนาพุทธมาบ้างไม่มากก็น้อย และเชื่อว่าหลายคนคงจำเรื่องราวของชูชกได้เป็นอย่างดี เพราะเขาเป็นตัวละครสำคัญที่ส่งผลต่อเรื่องราวในนิทานชาดกไม่แพ้ใครเลยทีเดียว ขึ้นชื่อเรื่องความโลภและสุดท้ายก็ต้องลงเอยด้วยการกินจนท้องแตก ฟังดูเป็นตัวละครที่ร้าย แต่ความจริงแล้วมีผู้คนจำนวนไม่น้อยเช่นเดียวกันที่บูชาเขาเป็นเครื่องราง วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับชูชกให้มากขึ้นและเปิดสาเหตุที่ทำให้ผู้คนนับถือเขาเป็นเครื่องรางกัน

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ทำความรู้จักกับชูชกตามตำนานนิทานชาดก

ชูชก

ชูชก เป็นตัวละครในนิทานชาดกทศชาติ ที่เล่าถึงเรื่องราวของสิบชาติภพสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและตรัสรู้จนบรรลุอรหันต์ ในชาติภพหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ถือกำเนิดเป็นพระเวสสันดร พระโอรสของกษัตริย์แห่งแคว้นสีพี 

เขาเป็นชายผู้มีน้ำใจและเมตตา ไม่ว่าใครมาขออะไรก็มักจะยกให้เขาอยู่เสมอ เมื่อครั้งแรกเกิดก็ได้ทูลขอทรัพย์สินจากมารดาเพื่อทำทานให้แก่คนยากไร้ในทันที หลังจากที่เติบใหญ่และได้ครองบัลลังก์ต่อจากบิดา ก็ได้มีคำสั่งให้ตั้งโรงทานเป็นจำนวนกว่า 6 แห่ง 

เป็นคนที่มีความมัธยัสถ์และชอบเก็บหอมรอมริบ ดังนั้นจึงเป็นบุคคลที่มีเงินทองมั่งคั่งมากที่สุดอีกคนหนึ่งในเมือง ด้วยเหตุนี้จึงสละพระราชทรัพย์เป็นจำนวนมาก เพื่อบริจาคให้กับผู้คนอยู่เป็นประจำทุกวัน พระเวสสันดรมีภรรยาที่หน้าตาสะสวยและยังมีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด 

ทุกอย่างดูสมบูรณ์แบบไปเสียหมดจนกระทั่งพระเวสสันดรได้พระราชทานช้างเผือก ซึ่งเป็นสัตว์มงคลให้กับคณะปุโรหิตจะแคว้นอื่นเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง ช้างเผือกเชือกนี้เต็มไปด้วยอานุภาพ สามารถบันดาลฟ้าฝนและช่วยให้ข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ได้ ด้วยเหตุนี้ชาวเมืองจึงไม่พอใจเป็นอย่างมากและสุดท้ายพระราชบิดาก็ต้องเนรเทศพระองค์ออกจากเมือง

ชูชก

การออกเดินทางในครั้งนี้พระองค์ต้องพบกับอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย แต่สุดท้ายก็สามารถหลุดพ้นมาได้จนพบเข้ากับพราหมณ์ที่มีชื่อว่า ชูชก เขาเป็นพราหมณ์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการขอเป็นอย่างมาก มีภรรยาที่หน้าตาสะสวยและเพียบพร้อมคอยปรนนิบัติพัดวีตนเองอยู่เสมอ 

ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้ขอลูกจากพระเวสสันดรเพื่อมาช่วยแบ่งเบาภาระให้กับภรรยาของตนเอง แต่มันยังไม่จบเพียงเท่านั้น เพราะระหว่างการเดินทางกลับ พราหมณ์เฒ่าก็ได้พบเข้ากับตาของเด็กทั้งสองหรือพระบิดาของพระเวสสันดรนั่นเอง 

เมื่อพบกับหลาน ตาก็สามารถจดจำได้ในทันที จึงได้ขอหลานคืนด้วยการเบิกสมบัติใต้ท้องพระคลังมาไถ่ตัว ชูชกที่ไม่เคยได้เห็นอาหารดี ๆ ก็รู้สึกดีใจเป็นอย่างมากและกินเข้าไปอย่างไม่รู้จักอิ่ม จนสุดท้ายก็ทนไม่ไหวและเสียชีวิตไปในที่สุด 

เปิดสาเหตุที่ทำให้ชูชกถูกนำมาใช้เป็นเครื่องราง

ชูชก

ถึงแม้ว่าชูชกอาจจะไม่ใช่ตัวละครที่ดีสักเท่าไหร่ในพุทธประวัติ แต่ในกลุ่มผู้ใช้ไสยเวทย์หรือคนทำของขลังมองว่า เขานั้นเป็นเจ้าแห่งสติปัญญาและโภคทรัพย์ มีความสามารถในการขอและการได้รับ ดังนั้นจึงได้นำเอารูปลักษณ์ของเขา มาสร้างให้เป็นเครื่องรางด้วยการใช้มวลสารมงคลอย่างเช่น 

ผงโลหะธาตุมงคลผสมกับดิน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความมงคลอยู่ในตัวอยู่แล้ว จากนั้นก็นำเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ มาผสมเข้าไปไม่ว่าจะเป็นแผ่นจาร แผ่นยันต์ สัมฤทธิ์ เงินทองโบราณ แร่กายสิทธิ์ และได้สร้างออกมากลายเป็นเครื่องรางในที่สุด

ชูชกในประเทศไทยนับว่าเป็นเครื่องรางที่ได้รับความนิยมไม่น้อยเลยทีเดียว เชื่อกันว่าสามารถใช้เสริมดวงในเรื่องการขอโชคลาภ การขอกู้หนี้ยืมสิน การเจรจาผัดผ่อนหนี้ การขอลาภยศหรือขอเลื่อนบางสิ่งบางอย่างจากผู้ใหญ่ 

โดยเครื่องรางที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่สุดคือของหลวงปู่รอดจากวัดบางน้ำวน เป็นเครื่องรางที่หาได้ยากและยังมีราคาสูงเป็นอย่างมากอีกด้วย ที่ได้รับความนิยมรองลงมาเป็นของหลวงปู่ทิมจากวัดละหารไร่ที่มีราคาเล่นสูงไม่แพ้กันเลยแม้แต่น้อย 

ข้อคิดประจำใจจากเทศน์มหาชาติกัณฑ์ชูชก 

ชูชก

แม้ว่าในปัจจุบันชูชกจะไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวละครในเรื่องเล่า แต่กลับกลายมาเป็นเครื่องรางที่นิยมเล่นกันไม่น้อยในกลุ่มคนเล่นเครื่องรางของขลัง แต่เรื่องราวของเขานั้นสามารถใช้เป็นเครื่องเตือนใจได้เป็นอย่างดี 

ในการเทศน์มหาชาติ นักเทศน์จะให้ข้อคิดประจำกัณฑ์ของเขาเอาไว้ว่า ของรักของหวงที่โบราณห้ามมิให้ผู้อื่นหรือฝากไว้กับผู้อื่นโดยเด็ดขาดคือ เงิน เมีย ม้า และน้องเมีย ที่ห้ามฝากไปโดยเด็ดขาด ภรรยาที่ดีจะต้องทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นการหาข้าวหาน้ำ การทำงานบ้าน ควรเตรียมเอาไว้ให้เสร็จสิ้น 

และของที่ไม่คู่ควรย่อมมีปัญหา อย่างเช่น การที่ชูชกไปขอลูกของพระเวสสันดรมานั้น เป็นการครอบครองของที่ไม่คู่ควร ถึงแม้ว่าเขาจะได้รับเงินไถ่คืนเป็นจำนวนมากมายและยังได้อาหารดี ๆ แต่สุดท้ายด้วยความโลภของตน เขาก็ต้องตายไปจากสินทรัพย์ที่ได้รับจากการถือครองของที่ไม่คู่ควรนั่นเอง 

ดังนั้นอะไรที่ไม่ใช่ของเรา มันก็ไม่ใช่ของเรา ไม่จำเป็นต้องไปอยากได้อยากมีเหมือนใคร ๆ รู้จักประมาณตนและไม่โลภ ก็จะทำให้ชีวิตไม่ต้องประสบพบเจอกับจุดจบที่น่าเศร้า นั่นเอง

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สายมู.com

You may also like

Leave a Comment