ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง วัฒนธรรมที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษของชาวล้านนา 

by saimu
0 comment
ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง

ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีวัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ที่สามารถสะท้อนให้เห็นได้ว่าคนกลุ่มนั้นมีความเชื่อเกี่ยวกับอะไรบ้าง และที่ สายมู.com จะมาแนะนำกันในวันนี้ก็คือ “ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง” วัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษของชาวล้านนา เราสามารถเห็นพิธีกรรมดังกล่าวได้ตามจังหวัดในแถบภาคเหนือ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนอย่างเช่น เชียงใหม่ ลำพูนหรือลำปาง ฟังดูแล้วพิธีกรรมนี้เหมือนเป็นพิธีกรรมที่น่ากลัว แต่ความเป็นจริงนั้นมันคือ การที่ผู้คนออกมาฟ้อนร่ายรำเพื่อเป็นเครื่องสังเวยให้กับบรรพบุรุษ

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง พิธีกรรมล้านนาที่แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ 

ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง

การฟ้อนผีมด-ผีเม็ง เป็นประเพณีล้านนาที่ผู้คนจะออกมาฟ้อนหรือร่ายรำเป็นการสังเวย รวมไปถึงการแก้บนให้กับบรรพบุรุษ นิยมทำในแถบภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาโบราณ ถูกสืบทอดกันมาอย่างยาวนานนับร้อย ๆ ปี ส่วนใหญ่จะสามารถพบเห็นได้ในจังหวัดแถบภาคเหนือตอนบน ปัจจุบันพิธีกรรมดังกล่าวได้เลือนหายไปตามกาลเวลาและโลกที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังมีในบางพื้นที่ในเขตชนบทหรือในบางอำเภอ ที่ยังคงมีพิธีกรรมดังกล่าวให้ได้เห็นอยู่เช่นเดียวกัน ผีมดและผีแมง เป็นผีประจำตระกูลตามความเชื่อของชาวล้านนา นับเป็นผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่าที่จะนับถือกันในบริเวณชุมชน เป็นผีผู้คนในเมืองที่สืบเชื้อสายจากตระกูลขุนนางและตระกูลเจ้านาย 

ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง

หากดูภายนอกก็เหมือนกับพิธีกรรมไหว้บรรพบุรุษธรรมดาทั่วไป แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความหมายที่สลับซับซ้อนไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากตระกูลของผีนั้นจะสืบเชื้อสายได้ไกลและจะมีชื่อเรียกขานเหมือนกับชื่อเจ้านายที่ปรากฏอยู่ในตำนาน แตกต่างจากผีทั่วไปที่ได้รับการเคารพนับถือหรือบูชาที่จะไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ ในปัจจุบันตระกูลผีมดผีเม็งเหลืออยู่น้อยนิด ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดลำพูน ลำปาง และเชียงใหม่เท่านั้น สำหรับในเมืองอื่นแทบจะไม่มีปรากฏแต่อย่างใด มีข้อเท็จจริงปรากฏว่าทั้งผีมดและผีแมงนั้น นับเป็นผีประจำตระกูลที่จะมีความแตกต่างกันไป ทั้งความเป็นมาและรายละเอียดในการประกอบพิธีกรรม แต่มักถูกเรียกรวมกันเพราะพิธีกรรมในการจัดเลี้ยงผีนั้น จะจัดขึ้นในเวลาที่ใกล้เคียงกันและจะมีการฟ้อนรำเป็นเครื่องสังเวยให้กับบรรพบุรุษ 

ในขณะที่บางครั้งก็จะมีการฟ้อนผีรวมกันโดยเรียกว่า “ผีมดซอนเม็ง” เป็นพิธีกรรมที่ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่าสืบทอดมาจากชนกลุ่มไหน เนื่องจากกลุ่มไทยยวนทั่วไปก็จะมีการนับถือผีอยู่แล้ว และยังมีการตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า กลุ่มคนนับถือผีนั้น อาจจะมีบรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายมาจากลัวะก็เป็นได้ 

ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง

ส่วนตำนานความเป็นมานั้นก็ได้มีการอธิบายเอาไว้หลากหลาย อย่างเช่น มีคำกล่าวขานเป็นนิทานที่อธิบายถึงลัทธิผีมดว่า กำเนิดขึ้นมาจากการส่งวิญญาณบรรพบุรุษให้ขึ้นไปเสวยสุขอยู่บนเมืองพรหม ลูกหลานจะต้องฆ่ากินเลือดเนื้อให้เกิดความเป็นสิริมงคลกับชีวิตในการส่งวิญญาณ และยังมีการเสี่ยงทายด้วยการใช้เนื้อหมู โดยให้แต่ละคนวางให้มดกินโดยเชื่อว่า มดนั้นเป็นสัตว์ประเสริฐที่มีทั้งหู ตา และจมูกทิพย์ หากมดมาตอมบนเนื้อหมูของใคร ลูกหลานก็จะค่าส่งวิญญาณไปสู่เมืองพรหม ก่อนที่จะกลายเป็นพิธีกรรมบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษเหมือนกับในปัจจุบัน และยังเชื่อกันอีกด้วยว่าผีมดนั้นจะชอบอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน เพื่อปกปักรักษาให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข เหมือนกับเสื้อบ้านเสื้อเมืองที่คอยปกป้องรักษาเมืองนั่นเอง หากตระกูลไหนมีการทำพิธีกรรมดังกล่าว ชาวบ้านที่อยากจะโชคดีมีเงินก็จะนำเอามดมาขายเป็นรัง บางคนก็จะซื้อรังมดนั้นมาไว้ภายในบ้านเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต 

ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง พิธีกรรมที่ดูน่ากลัวแต่แฝงไปด้วยกุศโลบาย 

ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง

ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง เป็นพิธีกรรมที่หากมองจากสายตาคนนอกแล้ว คงดูน่ากลัวไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะมันเกี่ยวข้องกับวิญญาณลี้ลับ เป็นประเพณีกรรมโบราณที่ผู้คนจะออกมาฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนาน แต่มันกลับดูสยองขวัญเสียอย่างนั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วพิธีกรรมดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกุศโลบาย ที่นอกจากจะเกี่ยวพันกับสิ่งที่ผู้คนเชื่อว่าจะช่วยให้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษอยู่เย็นเป็นสุข และช่วยปกป้องคุ้มครองลูกหลานให้มีความสุข มันยังเป็นการอัญเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษ ให้ได้มาร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีในกลุ่มคนที่นับถือผีแบบเดียวกัน วัตถุประสงค์ของพิธีกรรมดังกล่าว นอกจากเรื่องลี้ลับเหนือธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการออกมาฟ้อนรำและเป็นการละเล่นที่สนุกสนาน ช่วยเสริมสร้างความสามัคคีแนบแน่นให้กับผู้คนในกลุ่มเดียวกัน ช่วงเวลาในการทำพิธีกรรมจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายน ส่วนความถี่ก็แล้วแต่ตระกูล บางตระกูลก็จะจัดแค่ปีละครั้ง ในขณะที่บางตระกูลก็จัดขึ้น 2 ปีครั้ง 

นอกจากนี้ในกรณีอื่นอย่างเช่น ลูกหลานเจ็บป่วยแล้วบนบานศาลกล่าวเอาไว้ ก็อาจจะมีการมาฟ้อนรำถวายในภายหลัง เมื่อลูกหลานหายดีแล้วก็ได้เช่นเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้นมันยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในท้องถิ่นล้านนา นับเป็นหนึ่งในการส่งเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว 

You may also like

Leave a Comment