
ราหูอมจันทร์ หรือปรากฏการณ์จันทรุปราคา เกิดจากดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เมื่อเงาของโลกบังแสงของดวงอาทิตย์ที่ส่องไปยังดวงจันทร์เกือบทั้งหมด แต่ก็ยังมีแสงบางส่วนที่ลอดจากโลกไปถึงดวงจันทร์ได้ ทำให้เกิดการกรองแสงสีฟ้าออกไป จนเรามองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดง ตามความเชื่อของราหูอมจันทร์หรือจันทรุปราคาส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ จะเกิดขึ้นทุก ๆ ปี หลายคนมักจะไปกราบไหว้ขอให้พ้นเคราะห์ ปัดเป่าสิ่งไม่ดี แถมด้วยขอการงาน โชคลาภเงินทอง วันนี้ สายมู.com จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับราหูอมจันทร์ เราจะไปดูว่า มันมีลักษณะเป็นอย่างไร และมีความเชื่ออะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ไปติดตามกันได้เลย

ความเชื่อด้านโหราศาสตร์ของราหูอมจันทร์
1. พระราหู เป็นเทวดาลำดับที่ 8 พระอิศวรผู้เป็นเจ้า สร้างพระราหูขึ้นโดยใช้ศีรษะผีโขมด 12 ตัวมาป่นลง แล้วประพรมด้วยน้ำอมฤตก็บังเกิดเป็นองค์พระอสุรินทรเรืองฤทธิ์ ทรงทิพยสุวรรณแสงสีใสสะอาด และมีวิมานเป็นสีนิล มีมหาสุบรรณราชเป็นพาหนะ สถิตในทิศพายัพ
2. พระราหูเป็นเทพแห่งการเปลี่ยนแปลงโชคชะตาและภัยพิบัติ ในทางโหราศาสตร์ไทย พระราหูถูกแทนด้วยเลข 8 และถูกสร้างขึ้นมาจากหัวผีโขมด 12 หัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น 12 ว่ากันว่าเป็นเทวดาของผู้ที่เกิดวันพุธกลางคืน หากเข้าทับลัคนาหรืออายุของผู้ใด ชีวิตอาจจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านดีและร้าย
3. พระราหูเป็นเทพของคนเกิดพุธกลางคืน พระราหูเป็นสหายรักสนิทกับเสาร์ และนอกจากเสาร์แล้ว ราหูไม่ยอมคบหาสมาคมกับพวกดาวพระเคราะห์ใด ๆ เลย และยังเป็นศัตรูกับพระพุทธ
4. พระราหูเป็นธาตุลม เมื่อเรากราบไหว้บูชา ผลที่ได้มักจะไม่ยั่งยืน จะส่งผลดีต่อการติดต่อค้าขาย อบายมุข การพนันเสี่ยงโชค เหมาะสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจสีเทา
5. พระราหู มีข้อดีและข้อเสีย คือความฉลาดหลักแหลมแกมโกง เจ้าอุบาย มีความสามารถโน้มน้าวจิตใจคน และข้อเสียคือมีใจนักเลง กล้าได้กล้าเสีย ชอบกินเครื่องเซ่น เช่น พล่ากุ้ง ของยำและอาหารชนิดสุก ๆ ดิบ ๆ นอกนั้นยังชอบเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด ไม่เกรงกลัวอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นเทพนักเลงด้านมืด
6. พระราหูมีสีกายเป็นทองสำริด ไม่ใช่สีดำ เนื่องจากสีดำเป็นสีของพระเสาร์

7. ผู้ที่ต้องการไปกราบไหว้พระราหูสามารถเดินทางไปที่
7.1 วัดไตรมิตรวิทยาราม
7.2 ราหูเทวาลัย
7.3 วัดเจ้าอาม
7.4 วัดศีรษะทอง
7.5 วัดสมานรัตนาราม
7.6 วัดเขาสูงแจ่มฟ้า
7.7 วัดแม่ย่าซอม
7.8 ศาลพระพิฆเนศ
7.9 วัดสามพระยา
8. ของไหว้พระราหู ควรจัด 8 หรือ 12 อย่าง แล้วแต่สะดวก เป็นของสีดำทั้งหมด เช่น สาหร่ายดำ น้ำอัดลมสีดำ กาแฟดำ ชาดำ ช็อกโกแลต เฉาก๊วย งาดำ ถั่วดำ เป็นต้น

9. การไหว้ราหูอมจันทร์ ทิศในการไหว้ ให้หันหน้าไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และควรไหว้กลางแจ้ง ตั้งนะโม 3 จบ ตามด้วยบทสวด