สลากภัต ประเพณีงานทำบุญที่ได้รับความนิยมในแถบภาคเหนือ 

by saimu
0 comment
สลากภัต

ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธก็จริง แต่ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีประเพณีที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นในภาคเหนือมีประเพณี สลากภัต หรือในชื่อภาษาเหนือว่างาน ตานก๋วยสลาก เป็นงานบุญครั้งใหญ่ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยเฉพาะในแถบจังหวัดภาคเหนือตอนบน ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นงานทำบุญที่เต็มไปด้วยความน่าสนใจและความสวยงาม เพราะมีการสอดแทรกวิถีชีวิตของผู้คนในภาคเหนือเอาไว้ในงานประเพณีด้วย งานดังกล่าวเป็นอย่างไรและมีประวัติความเป็นมายังไง ไปดูกันเลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

เปิดประวัติความเป็นมาของประเพณีสลากภัตหรืองานตานก๋วยสลาก

สลากภัต

ประเพณีสลากภัต หรือ งานตานก๋วยสลาก เป็นงานบุญที่เหล่าพุทธศาสนิกชนจากทางภาคเหนือ จะรวมตัวกันเพื่อทำบุญนำเอาเครื่องไทยธรรมถวายให้กับพระภิกษุสงฆ์ ดังนั้นหากจะย้อนประวัติกลับไป ก็ต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยพุทธกาลกันเลยทีเดียว 

วัฒนธรรมดังกล่าวมีความเป็นมาขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร มีอยู่วันหนึ่งกุมารีได้อุ้มพาลูกชายวิ่งหนีนางยักษ์ขินี ผู้มีเวรต่อกันมาหลายภพหลายชาติแล้ว นางยักษ์ต้องการจะทำร้ายลูกชายของเธอ 

ด้วยเหตุนี้นางที่กำลังจนมุมและไม่สามารถวิ่งไปที่อื่นได้อีก จึงได้หอบลูกเข้ามาอยู่ในวัดเชตวัน บังเอิญได้พบเข้ากับพระพุทธเจ้าที่กำลังแสดงธรรมอยู่พอดี ด้วยเหตุนี้นางกุมารีจึงนำเอาลูกน้อยของเธอวางไว้แทบพระบาทและกราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่า 

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอโปรดเป็นที่พึ่งให้แก่ลูกชายของกระหม่อมด้วยเถิด พระพุทธเจ้าจึงได้หันมากล่าวคำสอนว่า เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร เพื่อเป็นการหยุดยั้งพฤติกรรมจองเวรจองกรรมกันระหว่างนางกุมารีและนางยักษ์ขินี และชี้ให้นางทั้งสองได้เห็นถึงความผิดชอบชั่วดี 

สลากภัต

นางยักษ์ชินีหลังจากที่ได้รับศีล 5 ไปแล้วก็ร้องห่มร้องไห้ กราบทูลพระพุทธเจ้าทั้งน้ำตาว่า ไม่รู้จะทำมาหากินอะไรเพราะรักษาศีลแล้ว ด้วยเหตุนี้นางกุมารีจึงได้อาสาพานางยักษ์ไปอยู่ด้วย นางยักษ์ได้รับการอุปการะจากนานกุมารีอยู่หลายประการจึงอยากจะตอบแทน 

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผู้พยากรณ์ที่บอกเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ นางกุมารีจึงได้ทำนาบริเวณที่ดอนในปีที่ฝนตกหนัก ทำนาในที่ลุ่มเวลาฝนแล้ง ช่วยให้นางกุมารีมีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยมากขึ้น หลายคนรู้สึกสงสัยจึงถามสาเหตุและได้ความว่า นางยักษ์เป็นผู้พยากรณ์อากาศให้ตน 

หลายคนจึงไปขอความช่วยเหลือนางยักษ์และต่างมีฐานะร่ำรวยมากขึ้นกว่าเดิม ชาวบ้านที่สำนึกบุญคุณ จึงนำเอาเครื่องอุปโภคบริโภคมาเป็นเครื่องสังเวย นางยักษ์จึงนำเอาของที่ได้รับมาทำเป็นสลากภัต จากนั้นก็ให้พระสงฆ์จับฉลากตัวเลข 

เนื่องจากของมีทั้งราคาถูกและราคาแพง พระสงฆ์ที่ได้รับของราคาถูกก็ไม่ต้องเสียใจไป ให้ถือว่าเป็นโชค ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดกิจกรรมทางศาสนาเป็นการทำบุญแบบจับฉลากนับตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา 

ประเพณีสลากภัตในประเทศไทยยุคปัจจุบัน

สลากภัต

ในปัจจุบันงานประเพณีสลากภัตหรือตานก๋วยสลากก็ยังคงมีการจัดให้เห็นอยู่ โดยเฉพาะบริเวณแถบภาคเหนือของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดลำพูน ลำปาง หรือเชียงใหม่ จะมีการจัดงานดังกล่าวขึ้น 2 วัน โดยวันแรกก่อนทำพิธี 1 วันจะมีชื่อเรียกว่า วันดา 

เป็นวันที่เหล่าชาวบ้านจะมารวมตัวกันเพื่อจัดเตรียมข้าวของสำหรับการถวายให้แก่พระสงฆ์ ผู้ชายจะทำการสารตะกร้าไว้หลายใบ บางครอบครัวอาจทำตะกร้าไว้หลายสิบใบก็มี แล้วแต่ความสามารถและกำลังของแต่ละคน 

ผู้หญิงก็จะนำเอาของที่จะถวายใส่ลงไปในตะกร้า มีตั้งแต่อาหาร ของแห้ง ของอุปโภคบริโภค อย่างเช่น ข้าวสาร เนื้อย่าง บุหรี่ เทียนไข สีย้อมผ้า จากนั้นนำเอาตะกร้ามากรุด้วยใบตองหรือกระดาษสี เสร็จแล้วก็จะนำเอาธนบัตรมาผูกติดไม้และเสียบไว้ที่ยอด 

ตะกร้าทุกใบจะมีเส้นสลากที่ถูกทำขึ้นมาจากใบลานหรือกระดาษตัดเป็นแผ่นยาว มีการเขียนชื่อเจ้าของปัจจัยเอาไว้และบอกว่าอุทิศส่วนกุศลให้กับใคร เป็นความเชื่อว่าจะทำให้ได้บุญและได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ที่เราต้องการอยากจะให้พวกเขารับไป หลังจากที่พระภิกษุสงฆ์ได้รับของถวายของเราไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นที่มาของชื่อสลากภัตนั่นเอง 

ส่วนวันที่ 2 จะเป็น วันทานสลาก ชาวบ้านก็จะนำเอาตะกร้าที่ทำเอาไว้มารวบรวมกันไปที่วัด นำเอาเส้นสลากไปรวมกันไว้บริเวณหน้าพระประธาน จากนั้นก็นั่งฟังเทศน์ มัคนายกจะนำเอาเส้นสลากแบ่งออกไว้เป็นทั้งหมด 3 กอง กองที่ 1 จะเป็นของวัด กองที่ 2 และ 3 จะเฉลี่ยตามพระภิกษุและสามเณรที่มาร่วมในงานบุญ หากยังเหลืออยู่ก็จะนำเอาปัจจัยมารวมเป็นของวัดทั้งหมด 

เมื่อได้รับส่วนแบ่งแล้วพระภิกษุสามเณรก็จะจัดการออกสลาก จับได้เส้นสลากใบไหนก็จะมีการออกชื่อเจ้าของสลากดัง ๆ พร้อมทั้งอ่านข้อความในนั้นด้วย ใครที่ได้ยินชื่อตัวเองก็จะเอาปัจจัยไปถวายให้กับพระ เป็นกิจกรรมที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเพศไหนอายุเท่าไหร่ต่างก็มาร่วมเทศกาลกันอย่างครึกครื้น 

เปิดสาเหตุที่ทำให้มีการจัดประเพณีสลากภัตมาจนถึงในปัจจุบัน 

สลากภัต

ประเพณีสลากภัต ไม่ได้เป็นเพียงแค่ประเพณีการทำบุญในพุทธศาสนาแต่อย่างใด ในปัจจุบันประเพณีดังกล่าวถูกจัดขึ้นเป็นประจำด้วยหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการทำนุบำรุงศาสนาให้ยังคงสืบสานต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน เป็นการถือโอกาสได้ทำบุญอย่างสนุกสนานร่วมกับญาติมิตร สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน 

นอกจากนี้ยังได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับอีกด้วย ส่วนใหญ่มักจัดขึ้นในช่วงฤดูฝนเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านไม่ได้เดินทางออกไปไหนมาไหน พระสงฆ์ก็มีการจำพรรษาอยู่ในวัดกันอย่างพร้อมเพรียง นับว่าเป็นอานิสงส์ คนที่ทำบุญในงานตานก๋วยสลากมักจะได้รับโชคเสมอ ไม่เพียงเท่านั้นยังเป็นโอกาสที่จะได้สงเคราะห์คนยากคนจนอีกด้วย 

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สายมู.com

You may also like

Leave a Comment