วัดพระพิเรนทร์ ตั้งอยู่ถนนวรจักร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ราวปี พ.ศ. 2300 เป็นที่ตั้งของสมาคมสงเคราะห์สหายศิลปิน เป็นสถานที่เก็บหัวโขนและเศียรพระครูที่ใช้ประกอบพิธีครอบครู เรื่องราวความเป็นมาและบุคคลสำคัญของสมาคมสงเคราะห์ศิลปิน ก่อตั้งโดย ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ เพื่อช่วยยกมาตรฐานการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะปี่พาทย์และลิเก วัดพระพิเรนทร์ขึ้นชื่อในเรื่องของพ่อแก่เป็นอย่างมาก และปัจจุบันที่นี่มีความเชื่อในเรื่องของการทำบังสุกุลเป็น บังสุกุลตาย สำหรับผู้ที่อยากมาสะเดาะเคราะห์ให้กับตนเอง และเสริมความเป็นมงคลให้กับชีวิต วันนี้ สายมู.com จะ พาทุกคนไปทำความรู้จักกับวัดแห่งนี้กัน ไปติดตามกันได้เลย
ประวัติวัดพระพิเรนทร์
วัดแห่งนี้เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร วัดสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2300 สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2379 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพิเรนทร์เทพ ขุนนางคนสนิทในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางโบราณ (ขำ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา) เจ้ากรมพระตำรวจหลวง ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ตั้งนามวัดว่า วัดขำเขมการาม ครั้นถึงปี พ.ศ. 2411 รัชกาลที่ 4 เปลี่ยนชื่อวัดให้ใหม่ว่า “วัดขำโคราช” ใช้มาถึงปี พ.ศ. 2430 จึงได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพระพิเรนทร์” ตามชื่อบรรดาศักดิ์ของเจ้าศรัทธา ผู้บูรณปฏิสังขรณ์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ปู่ขุ่น แซ่เล็กเจ้าอาวาสในขณะนั้น ได้ประกอบพิธียกป้ายวัดขึ้นสู่ซุ้มประตูด้านติดกับถนนวรจักร วัดแห่งนี้จึงกลายเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นยุครุ่งเรืองของวัด มีพระสงฆ์สามเณรในวัดประมาณ 50–60 รูป ยังมีกิจนิมนต์นอกวัดในวันเสาร์อาทิตย์ ศาลาวัดมี 45 ศาลา มีพิธีสงฆ์เกือบทุกศาลา ในสมัยก่อนวัดแห่งนี้มีชื่อเสียงด้านการจัดการเมรุและฌาปนกิจศพ ขุ่น แซ่เล็กมีเมตตาจัดงานศพให้ทุกคนทั้งที่มีทุนทรัพย์มาก จนถึงไม่มีเลย ปัจจุบันก็ยังปฏิบัติอยู่ เสียงปี่พาทย์ในวัดไม่เคยขาดหาย จะได้ยินตั้งแต่ 9 โมงเช้า ไปจนถึง 5 ทุ่ม
พ่อแก่ วัดพระพิเรนทร์
อาศรมพ่อแก่อยู่ติดกับโรงเรียนวัด และเป็นที่ตั้งของสมาคมสงเคราะห์สหายศิลปิน สถานที่เก็บหัวโขนและเศียรพระครูที่ใช้ประกอบพิธีครอบครู บุคคลสำคัญของสมาคมสงเคราะห์ศิลปิน นอกจากนี้สมาคมยังได้ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และศิลปกรรมไทยหลากหลายแขนง และยังสร้างเหรียญอันดับหนึ่งของเมืองไทย เหรียญบรมครูพ่อแก่ ปี 2513 เป็นเหรียญที่ออกให้บูชาเพื่อเป็นที่ระลึกในพิธีไหว้ เมื่อปี 2513 ฝีมือการสร้างโดย เจ้ากรมแย้ม หน้าชมพูกลีบบัว เป็นเศียรพ่อแก่ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ แตกต่างจากเศียรอื่น เนื่องจากมีฟันเรียงเป็นเมล็ดข้าวโพด ต่างจากเศียรอื่นที่มีฟันเพียง 2 ซี่ สำหรับวงการศิลปะและเหล่าบรรดานักสะสม ได้ยกย่องให้เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยม จึงเป็นที่กล่าวขานกันในหมู่ศิลปินว่า เป็นสุดยอดในด้านเมตตามหานิยม ยกให้เป็นเหรียญอันดับหนึ่งในสายพ่อแก่