วัดภูเขาทอง วัดดังที่หลายคนไม่รู้ชื่อจริง

by saimu
0 comment
วัดภูเขาทอง

ทราบหรือไม่ว่า วัดก็มีชื่อเล่นเช่นกัน อย่างเช่น วัดภูเขาทอง ที่มีชื่อเต็ม ๆ ว่า วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมากจากสิ่งปลูกสร้างภายในที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งได้กลายมาเป็นชื่อเรียกวัดว่าภูเขาทองอย่างในปัจจุบัน วัดภูเขาทองจะมีความน่าสนใจขนาดไหน วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวัดแห่งนี้กัน ไปติดตามกันได้เลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

เปิดประวัติความเป็นมาของวัดภูเขาทอง วัดที่มีความสวยงามแปลกตามากกว่าใคร 

วัดภูเขาทอง

วัดสระเกศ หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ วัดภูเขาทอง ถูกจัดให้เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บริเวณริมคลองมหานครและคลองรอบกรุง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นวัดในนิกายเถรวาท ส่วนชื่อวัดภูเขาทองเป็นชื่อเล่นที่เรียกกันติดปากจากรุ่นสู่รุ่น 

วัดแห่งนี้อยู่คู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และถือว่าเป็นวัดหนึ่งที่มีความสำคัญ ในสมัยก่อนวัดสระเกศมีชื่อว่า วัดสะแก เมื่อเข้าสู่สมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ พร้อมทั้งขุดคลองบริเวณรอบพระอาราม 

จากนั้นจึงมีการพระราชธรรมนามใหม่ให้เป็น วัดสระเกศ มีความหมายถึงการชำระพระเกศาหรือการสระผมนั่นเอง เพราะในอดีตวัดแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญสำหรับการทำพิธีพระกระยาสนาน (อาบน้ำ) ในช่วงของการเสด็จกรีธาทัพกลับจากประเทศกัมพูชาเพื่อปราบการจลาจลที่กรุงธนบุรี จากนั้นจึงได้ขึ้นเถลิงราชสมบัติเมื่อปี 2325 

วัดภูเขาทอง

เมื่อเข้าสู่ยุคของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้มีคำสั่งให้บูรณะวัดภูเขาทองอีกครั้ง และยังสร้างพระบรมบรรพตหรือภูเขาทอง ซึ่งก็คือที่มาของชื่อวัด ลักษณะเป็นพระปรางค์ที่มีฐานย่อมุมไม้ 12 แต่ไม่สามารถสร้างให้สำเร็จในรัชกาลได้ 

ด้วยเหตุนี้ เมื่อเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นภูเขา โดยมีการก่อพระเจดีย์ขึ้นมาบนยอด สำหรับเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ จนกระทั่งก่อสร้างแล้วเสร็จในยุคของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้พระราชทานนามพระบรมบรรพตแห่งนี้ว่า สุวรรณบรรพต 

สุวรรณบรรพต มีความสูง 77 เมตร ด้านบนเป็นพระเจดีย์สีทองอร่าม เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่มีการขุดค้นพบในเมืองกบิลพัสดุ์ มีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นของพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นส่วนแบ่งของราชวงศ์ศากยะ และยังมีคำจารึกปรากฏอยู่ทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นของแท้แน่นอน 

รวมสิ่งที่คุณไม่ควรพลาดเมื่อเดินทางไปวัดภูเขาทอง 

วัดภูเขาทองเป็นวัดที่มีสิ่งปลูกสร้างภายในสวยงามหลายจุด หากใครได้เดินทางไปท่องเที่ยวก็จะได้สัมผัสถึงความสวยงามแบบที่ไม่สามารถสัมผัสได้ในวัดอื่นอย่างแน่นอน และจะมีอะไรบ้างที่เราไม่ควรพลาด ไปดูกันเลย 

วัดภูเขาทอง

1.พระอุโบสถ 

โบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียวในวัดภูเขาทอง เป็นที่ประดิษฐานของพระประธานองค์ใหญ่ ผนังภายในประดับด้วยภาพเขียนพุทธประวัติ

วัดภูเขาทอง

2.พระวิหารอัฏฐารส 

เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อดุสิต พระพุทธรูปยืนที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนต้น เป็นของโบราณที่มีอายุร่วม 700 ปี และยังเป็นพระพุทธรูปยืนที่มีความสูงมากที่สุดในกรุงเทพฯ กว่า 10.75 เมตร โดยรัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากวัดวิหารทองที่จังหวัดพิษณุโลกมาประดิษฐานยังวัดแห่งนี้ 

วัดภูเขาทอง

3.พระบรมบรรพต 

มาถึงวัดภูเขาทอง จะพลาดการขึ้นภูเขาทองไปได้อย่างไร อย่างที่เรากล่าวไปว่า พระบรมบรรพต ถูกสร้างขึ้นมาในยุคของรัชกาลที่ 3 ตั้งใจให้เป็นปูชนียสถานสำคัญในกรุงเทพฯ เหมือนกับในสมัยกรุงเก่า มีบันไดที่สามารถขึ้นไปเยี่ยมชมความสวยงามของเจดีย์และกราบไหว้พระพุทธรูปประธานจำนวน 344 ขั้น 

รูปปั้นแร้งวัดสระเกศ การระลึกถึงเหตุการณ์โรคอหิวาตกโรคระบาด 

วัดภูเขาทอง

หนึ่งในสิ่งที่ทุกคนจะพลาดไม่ได้เมื่อไปถึงวัดภูเขาทองก็คือ รูปปั้นแร้ง นั่นเอง สาเหตุที่ต้องมีรูปปั้นอีแร้งและร่างของผู้เสียชีวิตมากมายจนดูน่าสยดสยองอยู่ในวัดภูเขาทอง ที่ควรจะเต็มไปด้วยความจรรโลงใจเป็นเพราะว่า 

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้ออหิวาตกโรค ช่วงเวลานั้นวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังไม่สามารถหาวิธีการรักษาและป้องกันได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

 สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยต้องการให้กำลังใจประชาชน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีขับไล่โดยมีชื่อเรียกว่า พิธีอาพาธพินาศ ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีการยิงปืนใหญ่ออกมาจากรอบพระนครตลอดทั้งคืน 

ทั้งอัญเชิญพระสารีริกธาตุและพระแก้วมรกตออกมาแห่ไปรอบเมือง ทำบุญเลี้ยงพระ ปล่อยนกปล่อยปลากันยกใหญ่ และยังประกาศไม่ให้ประชาชนฆ่าสัตว์ ถึงอย่างนั้นก็ยังมีผู้คนล้มตายกว่าสามหมื่นคน

ร่างผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ถูกนำมากกองเอาไว้ในวัดเป็นภูเขาเหล่ากอ เพราะผู้คนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาและต้องการนำร่างผู้เสียชีวิตมาประกอบพิธี แต่เพราะมีจำนวนมากทำให้ฝังและเผาไม่ทัน บางคนก็ต้องแอบเอาร่างผู้เสียชีวิตทิ้งลงไปในแม่น้ำตอนกลางคืน 

ชาวบ้านอพยพหนีออกจากเมืองกันหมด พระสงฆ์ก็ทิ้งออกจากวัด และในเวลานั้นวัดภูเขาทองก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งวัดที่มีร่างผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สถานที่แห่งนี้จึงเต็มไปด้วยแร้งที่มุมกันศพเป็นจำนวนมาก

อีกหลายสิบปีต่อมา โรคอหิวาตกโรคก็กลับมาแพร่ระบาดหนักอีกครั้ง จนมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 40,000 คน รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระราชาคณะในช่วงเวลานั้นจึงได้จัด 3 วัดสำหรับการเผาศพ และหนึ่งในนั้นก็คือวัดภูเขาทองนั่นเอง  

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สายมู.com

You may also like

Leave a Comment