ในยุคสมัยของรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยของเราได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากประเทศจีนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรื่องหรือวัดวาอาราม วัดราชโอรสก็ถือว่าเป็นหนึ่งในวัดที่ได้รับอิทธิพลนั้นเช่นเดียวกัน ซึ่งวัดดังกล่าวเป็นวัดที่ได้รับการบูรณะจากวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และนอกจากนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังเป็นยุคที่มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือที่เรียกกันว่า ยุคเรเนซองส์ ทำให้วัดแก่งนี้มีความแตกต่างจากวัดทั่ว ๆ ไปเป็นอย่างมาก และในวันนี้เราก็ไม่พราดที่จะพาทุกคนไปเยี่ยมชมวัดเก่าแก่แห่งนี้กัน ซึ่งจะส่วนงามขนาดไหน ไปติดตามกันได้เลย
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่
เปิดประวัติความเป็นมาของวัดราชโอรส วัดที่สวยงามจนราชทูตอังกฤษชม
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นช่วงของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือที่เรียกกันว่า “ยุคเรเนซองส์” ได้มีการฟื้นฟูงานศิลปะต่าง ๆ เกิดขึ้นทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ซึ่งวัดราชโอรสก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาในช่วงเวลานั้นเช่นเดียวกัน
ประกอบกับประเทศไทยเริ่มเว้นว่างจากการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน สถานการณ์จึงเข้าสู่สภาวะปกติสุข เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ และกษัตริย์ในประเทศไทยใฝ่ในพุทธศาสนาอยู่แล้ว การสร้างวัดหรือซ่อมแซมวัดมากมายทั่วทั้งประเทศจึงเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในช่วงนี้
แน่นอนว่าการซ่อมแซมวัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ทำให้การบูรณะวัดราชโอรสด้วยศิลปะไทยเดิมที่ประณีต ต้องใช้เวลายาวนานและคงไม่ทนทานที่จะอยู่อย่างถาวร และในช่วงของรัชกาลที่ 3 นั้น การค้าระหว่างไทยจีนกำลังเฟื่องฟู ทำให้ไทยเราได้รับศิลปะและวัฒนธรรมจีนเข้ามาด้วย
ถือกำเนิดเป็นงานศิลปะรูปแบบใหม่ในยุครัชกาลที่ 3 เรียกว่า งานศิลปกรรมแบบพระราชนิยม เป็นการนำเอางานศิลปะไทยและจีนเข้ามาผสมผสานกันอย่างลงตัว ส่งผลให้วัดราชโอรสเป็นวัดแห่งแรกที่ถูกบูรณปฏิสังขรณ์ด้วยงานศิลปะดังกล่าว
เดิมทีวัดราชโอรสถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเรียกว่า “วัดจอมทอง”, “วัดเจ้าทอง” หรือบ้างก็เรียกว่า “วัดกองทอง” ในสมัยของรัชกาลที่ 2 สมัยที่รัชกาลที่ 3 ยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ท่านได้ยกทัพไปสกัดพม่าบริเวณเจดีย์ด่าน 3 องค์
กองทัพได้ประทับแรมกันในวัดแห่งนี้ มีการทำพิธีเบิกโขลนทวารหน้าวัด เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคล หลังการศึกจบลงก็ได้เดินทางกลับพระนครและปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสขึ้นมาใหม่ ทรงเสด็จมาตรวจงานก่อสร้างและควบคุมการทำงานด้วยพระองค์เอง
เมื่อแล้วเสร็จก็มีการน้อมเกล้าฯ ถวายยกให้เป็นพระอารามหลวง โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานนามให้ใหม่ว่า วัดราชโอรส มีความหมายถึง วัดที่พระราชโอรสเป็นผู้สถาปนาขึ้นมานั่นเอง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวัดสำคัญในประเทศไทยของเราก็ว่าได้
รวมสถานที่น่าสนใจภายในวัดราชโอรสที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด
ความงดงามของวัดราชโอรสถือว่าเป็นที่เลื่องชื่อเป็นอย่างมาก ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างชื่นชมความสวยงามของวัดแห่งนี้ว่าไม่มีใครเหมือน ซึ่งแน่นอนอยู่แล้ว เพราะสถานที่สำคัญแห่งนี้เป็นวัดแห่งแรกในไทยที่ถูกฟื้นฟูด้วยงานศิลปะรูปแบบใหม่ ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและจีนเข้าด้วยกัน
มันจึงทั้งดูสวยงามและแปลกตาไปพร้อม ๆ กันนั่นเอง แม้แต่ราชทูตอังกฤษเองยังชื่นชมและเขียนบันทึกยกย่องความงดงามของวัดราชโอรสเอาไว้ว่า “เป็นวัดที่สร้างขึ้นอย่างงดงามที่สุดในบางกอก” สำหรับใครที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยว จะมีจุดไหนที่ไม่ควรพลาดบ้าง ไปดูกันเลย
1.ซุ้มประตูจีน
เรียกว่าสวยกันตั้งแต่ทางเข้าเลยทีเดียวสำหรับวัดแห่งนี้ เพราะในช่วงที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ได้สร้างขึ้นมาแทนซุ้มประตูแบบเดิมที่เป็นงานศิลปะไทย ได้มีการผสมผสานศิลปะจีนเข้าไปด้วย ด้านข้างมีเจดีย์โบราณขนาบ 2 ข้าง เป็นเจดีย์ทรงถะแบบจีน
2.พระอุโบสถ
หน้าบันถูกก่อขึ้นด้วยอิฐ 2 ชั้น ด้านบนประดับประดาด้วยกระเบื้องเคลือบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อ ด้านล่างเป็นภาพของวิวทิวทัศน์ที่ประกอบไปด้วยธรรมชาติมากมาย ไม่มีองค์ประกอบของวัดไทยอย่างช่อฟ้า ใบระกา หรือหางหงส์ ก่อนเข้าสู่ภายในจะได้พบกับทวารบาลเป็นตุ๊กตากระเบื้องเคลือบเซี่ยวกาง ซึ่งเป็นทวารบาลของจีน แม้ปัจจุบันจะดูชำรุดทรุดโทรมไปบ้าง แต่ก็ยังคงดูออกว่าอะไรเป็นอะไร ภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธอนันตกุลอดุลญาณบพิตร พระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรได้โปรดเกล้าฯ ยกขึ้นประดิษฐานเหนือพระประธาน
3.พระวิหารพระพุทธไสยาสน์
ลักษณะภายนอกดูคล้ายคลึงกับพระอุโบสถ แต่การตกแต่งจะน้อยกว่าและไม่มีการใช้กระเบื้องเคลือบแต่อย่างใด ภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ที่มีพระนามว่า “พระพุทธไสยาสน์ นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร” มีการทำลวดลายมงคลบนฝ่าพระบาทถึง 108 ประการ ใช้เทคนิคลายรดน้ำที่ดูสวยงามแปลกตา
ย้อนรอยเรื่องเล่าของวัดราชโอรส ในยุคที่ไทยยังทำสงครามกับพม่า
วัดราชโอรสจะเรียกว่าเป็นโบราณสถานก็คงไม่ผิดนัก เพราะหากจะนับตั้งแต่ที่มีการก่อสร้างขึ้นมาก็ตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาเลยทีเดียว ถึงจะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ในยุครัชกาลที่ 3 แต่เวลาก็ได้ผ่านเลยมานานเสียเหลือเกิน ทำให้วัดราชโอรสมีเรื่องเล่ามากมาย
โดยเฉพาะในยุคสมัยที่ไทยยังคงทำสงครามกับพม่าที่เราได้เกริ่นไปข้างต้น แต่เราจะขอลงรายละเอียดให้ลึกขึ้นกว่าเดิม พุทธสถานแห่งนี้เคยเป็นที่พักแรมของเหล่ากองทัพ รวมถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อปี 2363 เป็นช่วงเวลาที่ข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วทั้งสยามว่า พม่ากำลังจะยกทัพเข้ามาตีประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็นกษัตริย์ในช่วงเวลานั้น ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดกองทัพถึง 4 ทัพ ยกไปสกัดกั้นพม่าตั้งแต่กาญจนบุรียาวลงไปถึงตอนใต้ รัชกาลที่ 2 ซึ่งตอนนั้นเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพคุมกองพลเดินทางไปสกัดทัพพม่าบริเวณด่านเจดีย์สามองค์เช่นกัน
วัดแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ประกอบพิธีเบิกโขลนทวาร ท่านได้อธิษฐานให้การศึกสงครามครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี หลังจากที่ยกทัพไปถึงกาญจนบุรีก็เข้าสู่ฤดูฝน รอวันแล้ววันเล่าก็ไม่มีวี่แววว่าพม่าจะยกทัพมา สมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอเสด็จกลับพระนคร
เมื่อกลับถึงพระนครเรียบร้อยแล้วกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้โปรดให้มีการปฏิสังขรณ์วัดจอมทองให้เหมือนกับวัดที่สร้างขึ้นมาใหม่ ประกอบกับการที่พระเจ้าลูกยาเธอโปรดปรานการติดต่อค้าขายกับชาวจีนเป็นอย่างมาก จึงมีความโปรดปรานงานศิลปกรรมจีนมากตามไปด้วย
ดังนั้นจึงให้ชาวจีนสำเพ็งเข้ามาช่วยกันร่วมก่อสร้าง และมีการสั่งช่างฝีมือจากเมืองจีนเข้ามาร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดจนแล้วเสร็จในระยะเวลากว่า 14 ปี เราไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าวัดแห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มากน้อยแค่ไหน
แต่ถึงขั้นที่กษัตริย์ในประเทศไทยเคยทำพิธีก่อนออกศึกสงครามที่นี่ และสามารถกลับคืนสู่พระนครได้โดยที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อด้วยซ้ำไป เมื่อกลับมาแล้วพระองค์ท่านถึงขั้นที่มีการโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะกันเลยทีเดียว
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สายมู.com