วัดเบญจมบพิตร พระอารามหลวงชั้นเอกที่สวยงามจนชาวต่างชาติตะลึง

by saimu
0 comment
วัดเบญจมบพิตร

เชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่ทราบว่า วัดในประเทศไทยของเราก็มีการจัดอันดับเล็กใหญ่และการให้ความสำคัญที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น วัดเบญจมบพิตร จัดว่าเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก อยู่ในชนิดราชวรวิหาร มีความสวยงามเป็นอย่างมาก เวลาเข้าไปรู้สึกเหมือนได้ย้อนเวลากลับไปในช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์กันเลยทีเดียว ที่สำคัญคือเป็นวัดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงอีกด้วย การเดินทางท่องเที่ยวสามารถทำได้ง่าย ใครอยากจะลองไปสัมผัสกับความงดงามอลังการ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวัดแห่งนี้กัน 

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

เปิดประวัติวัดเบญจมบพิตร วัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานจนไม่สามารถระบุได้ชัดเจน 

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นวัดสำคัญในประเทศไทยก็จริง แต่เนื่องจากเป็นวัดที่ถูกสร้างมาอย่างยาวนาน ในอดีตมีชื่อเรียกสุดเรียบง่ายอย่างวัดไทรทองหรือวัดแหลม ดังนั้น จึงไม่มีปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่ ความเป็นมาของวัดเบญจมบพิตรจึงยังคงเป็นปริศนาอยู่ 

วัดเบญจมบพิตร

เดิมทีวัดเบญจมบพิตรหรือวัดแหลมเป็นวัดที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จัดเป็นวัดราษฎร์ธรรมดาทั่วไป หลังจากที่มีการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เสร็จสิ้นแล้ว พระองค์เจ้าพนมวันพร้อมพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดาอีกจำนวน 4 พระองค์ ประกอบไปด้วย กรมพิทักษ์เทเวศร์ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระองค์เจ้าอินทนิล และพระองค์เจ้าวงศ์ 

ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์ให้วัดแหลมให้ดูสวยงามเหมือนใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง มีการสร้างพระเจดีย์หน้าวัดเรียงรายถึง 5 องค์ ต่อมาในปี 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ซื้อที่ดินที่ตั้งอยู่ระหว่างคลองสามเสนและคลองผดุงกรุงเกษม สำหรับการสร้างที่ประทับเพื่อพักผ่อนหย่อนใจส่วนพระองค์ มีชื่อว่าสวนดุสิต หรือพระราชวังสวนดุสิตในปัจจุบันนั่นเอง ที่ดินบริเวณนั้นมีวัดร้างอยู่ 2 แห่ง ประกอบไปด้วยวัดดุสิตที่มีสภาพทรุดโทรมเป็นอย่างมาก จึงสร้างพลับพลาขึ้นมาแทน 

วัดเบญจมบพิตร

ส่วนวัดร้างอีกแห่งหนึ่งจำเป็นจะต้องใช้ที่ดินของวัดเพื่อตัดเป็นถนน ท่านจึงได้ผาติกรรมสร้างวัดแห่งใหม่ขึ้นมาทดแทนตามประเพณีดั้งเดิม และวัดที่ถูกเลือกก็คือวัดแหลมนั่นเอง ท่านมีพระราชดำริว่าการสร้างวัดขึ้นมาใหม่หลาย ๆ แห่งนั้น ทำให้การบำรุงรักษาเป็นเรื่องยาก ถ้าเรารวมเงินเพื่อสร้างวัดเดียวให้กลายเป็นวัดขนาดใหญ่ขึ้นมา ตั้งใจทำอย่างประณีตก็จะเป็นการดีกว่า

จึงได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ให้ออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นมา โดยมีพระยาราชสงครามเป็นนายช่างทำการก่อสร้าง 

เดือนมีนาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้เสด็จมายังวัด และมีพระบรมราชโองการพระบรมราชชูทิศถวายที่ดินให้เป็นวิสุงคามสีมาแก่วัด พระราชทานนามใหม่เพื่อแสดงให้เห็นถึงลำดับของรัชกาล 1-5 ในราชวงศ์จักรี 

และยังมีการถวายที่ดินดุสิตวนารามเป็นวิสุงคามสีมาเพิ่มเติมให้กับวัดอีกด้วย เข้าสู่ปี 2448 ได้มีการจัดระเบียบพระอารามหลวงใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดเบญจมบพิตรจึงได้รับการจัดตั้งให้เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร จึงมีชื่อสร้อยต่อท้ายว่าราชวรวิหารตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

รวมสถานที่น่าสนใจภายในวัดเบญจมบพิตร 

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร อาจเป็นวัดที่ไม่ได้มีประวัติความเป็นมาโดดเด่น หากเทียบกับวัดโบราณแห่งอื่นในประเทศไทย แต่ถือว่าเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญกับสังคมไทยไม่น้อยเช่นกัน ภายในมีสถานที่สำคัญมากมายถูกก่อสร้างขึ้นมาอย่างละเมียดละไม ดูสวยงามจนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมทั้งสำหรับชาวไทยและชาวต่างชาติ และจะมีที่จุดไหนน่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย 

ศาลาสี่สมเด็จ 

วัดเบญจมบพิตร

เป็นโบราณสถานในวัดเบญจมบพิตร ถูกสร้างขึ้นมาในรูปแบบศาลาจตุรมุขพื้นศิลา โดยพระราชทรัพย์ของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ลงขันกับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ รวมถึงสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธออีก 3 พระองค์ จึงมีการพระราชทานนามให้ศาลาแห่งนี้ว่าเป็นศาลาสี่สมเด็จนั่นเอง 

ในอดีตใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งสำหรับพระภิกษุสงฆ์และสามเณร แต่ในปัจจุบันได้กลายมาเป็นหอกลองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริเวณด้านหน้าของศาลามีการสลักลวดลายไทยวิจิตรสวยงาม เป็นตราประจำพระองค์ของสมเด็จแต่ละพระองค์

พระที่นั่งทรงธรรม 

วัดเบญจมบพิตร

เป็นตึกสูง 2 ชั้น ที่ก่อสร้างขึ้นมาด้วยอิฐและปูน บันไดและพื้นด้านล่างถูกปูด้วยหินอ่อน ส่วนด้านบนปูพื้นด้วยไม้  มีการปิดทองประดับกระจกดูงดงาม ตามเสาเขียนด้วยลายรดน้ำเทพนม มีการตั้งธรรมาสน์เอาไว้บริเวณกลางห้อง ใต้ฉากกั้นเป็นดีบุกสลักลวดลายไทยกุมภัณฑ์และเทพนม ในอดีตใช้เป็นที่ประทับของฝ่ายใน ต่อมาถูกใช้ในงานศาสนามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานประจำปีในวัด การศึกษาพระปริยัติธรรม การประชุมสังฆมนตรี หรือแม้แต่การตั้งพระศพหรือร่างของบุคคลสำคัญในประเทศ 

หอระฆังบวรวงศ์ 

วัดเบญจมบพิตร

เป็นหอทรงไทยในวัดเบญจมบพิตรที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยหินอ่อนโดยพระบรมวงศานุวงศ์ ระฆังที่อยู่ภายในหอถูกนำมาจากวัดบวรสถานสุทธาวาส หน้าบันสลักด้วยลวดลายไทย มีตราประจำตำแหน่งของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ด้านหน้าฝั่งตะวันตกสลักภาพพระลักษณ์ทรงหนุมาน ส่วนทิศตะวันออกสลักภาพพระนารายณ์ทรงปืน 

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สายมู.com

You may also like

Leave a Comment