วันอัฏฐมีบูชา วันแห่งความสูญเสียในศาสนาพุทธ

by saimu
0 comment
วันอัฏฐมีบูชา

ทุกอย่างมีเกิดขึ้นและมีดับไป เป็นวงจรที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งพระพุทธเจ้าเองก็ตาม การสูญเสียพระพุทธเจ้านับเป็นความสูญเสียใหญ่ในศาสนาพุทธ ด้วยเหตุนี้วันอัฏฐมีบูชาจึงเป็นอีกหนึ่งวันที่มีความสำคัญและจัดว่าเป็นวันแห่งความสูญเสียในศาสนาพุทธของเรากันเลยทีเดียว วันดังกล่าวคือวันอะไร มีความสำคัญอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกัน ไปติดตามกันได้เลย 

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ทำความรู้จักกับวันอัฏฐมีบูชา วันสำคัญที่หลายคนอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน 

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธต้องเผชิญกับความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุด หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จปรินิพพานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้มีการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระในวันแรม 8 ค่ำเดือน 6 ทำให้วันดังกล่าวจึงถูกตั้งชื่อว่า วันอัฏฐมี นั่นเอง 

ไม่เพียงเท่านั้น วันนี้ยังเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็นองค์พระพุทธมารดา และยังเป็นวันคล้ายวันเสวยวิมุตติสุขซึ่งเป็นช่วงเวลา 7 วัน หลังตรัสรู้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้วันอัฏฐมีบูชาจึงจัดว่าเป็นอีกวันหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นมากมายในพระพุทธศาสนา

กิจกรรมในวันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา

ความจริงแล้ววันอัฏฐมีบูชาเป็นวันที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมในประเทศไทยสักเท่าไหร่ วันดังกล่าวไม่ถูกจัดว่าเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่น ๆ ในศาสนาพุทธ ดังนั้นจึงมีเพียงแค่ไม่กี่วัดเท่านั้นที่มีการจัดพิธีกรรมขึ้นในวันดังกล่าว 

ส่วนกิจกรรมทางศาสนาที่นิยมทำกันก็จะเป็นการบำเพ็ญกุศล การเข้าวัดทำบุญ การรักษาศีล การเจริญภาวนา วัดบางแห่งอาจจัดให้มีการเวียนเทียนในช่วงค่ำ มีการแสดงพระธรรมเทศนายาวตลอดทั้งคืน เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต อย่างเช่น

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีการจัดประเพณีอัฐมีบูชารำลึกเพื่อจำลองพิธีถวายพระเพลิงแก่พระบรมศพของพระพุทธเจ้า โดยจะสมมุติว่าเมืองแห่งนี้เป็นเมืองกุสินาราที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จปรินิพพาน 

ภายในวัดจึงมีการตกแต่งให้สวยงามและสร้างพระบรมศพจำลองขึ้นมาในปางไสยาสน์ด้วยการใช้ไม้ไผ่สานขึ้นรูป แล้วพอกด้วยปูนปลาสเตอร์ผสมกับกระดาษเข้าไป มีการนำเอาจีวรสีเหลืองห่มพระวรกายเอาไว้และนำไปประดิษฐานใต้พระเมรุมาศ 

เปิดประวัติความเป็นมาของวันอัฏฐมีบูชา 

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชามีจุดเริ่มต้นที่ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยพุทธกาล เหตุการณ์เกิดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 พระพุทธเจ้าประชวรอย่างหนักและต่อมาก็ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ก่อนปรินิพพานพระพุทธเจ้าได้กล่าวกลับเหล่าพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายว่า 

ดูก่อนพิสูจน์ทั้งหลาย อันว่าสังขารย่อมมีการเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังจิตทั้งปวงเพื่อประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทให้พร้อมเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจะมีในไม่ช้า ล่วงไปอีก 3 เดือน ตถาคตจากปรินิพพาน 

หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 7 วัน กษัตริย์แห่งกรุงกุสินาราพร้อมพุทธศาสนิกชนและพระภิกษุ โดยมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน ได้ร่วมใจกันถวายพระเพลิงแก่พระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าที่มกุฏพันธนเจดีย์ในวันแรม 8 ค่ำเดือน 6 

หลังจากที่ถวายพระเพลิงเรียบร้อยแล้วผู้ครองแคว้นและกษัตริย์ถึงเจ็บแคว้น ก็ได้ส่งทูตมาเพื่อขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ หลังจากนั้นพระบรมสารีริกธาตุก็ถูกแบ่งไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่นับถือศาสนาพุทธและศรัทธาในพระพุทธเจ้า 

แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีผู้คนเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ดังนั้นการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจึงไม่ได้เป็นไปอย่างเรียบง่ายแต่อย่างใด ในตอนแรกกษัตริย์แห่งกรุงกุสินาราไม่ต้องการจะแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า จนเกือบเป็นชนวนที่ทำให้เกิดสงครามระหว่างนครกุสินาราและแคว้นทั้ง 7 

แต่เหตุการณ์ก็ได้จบลงหลังจากพราหมณ์คนหนึ่งที่มีชื่อว่าโทณะ ได้เข้ามาทำการไกล่เกลี่ยสถานการณ์ที่กำลังตึงเครียด โดยกล่าวว่าดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอจงฟังคำของข้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้กล่าวสรรเสริญถึงขันติ การจะประหารกันเพื่อพระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้เป็นบุคคลเช่นนี้ไม่ดีเลยแม้แต่น้อย 

ขอให้เราทั้งหลายจงยินยอมยินดีที่จะแบ่งพระสรีระออกเป็น 8 ส่วน ขอจงแพร่กระจายไปในทิศทางทั้งหลาย ชนผู้เลื่อมใสต่อพระพุทธองค์ผู้มีพระจักษุมีอยู่มาก ด้วยเหตุนี้กษัตริย์แห่งนครกุสินาราจึงยอมตกลงกับทั้งกษัตริย์และพราหมณ์ทั้ง 7 แคว้น 

เพื่อทำการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุโดยโทณะพราหมณ์เป็นผู้จัดการ ส่วนพราหมณ์ผู้เข้ามาจัดการปัญหาก็ได้รับทนายทองคำที่ใช้ในการตวงพระบรมสารีริกธาตุเก็บไว้เป็นที่ระลึก

หลักธรรมที่คุณควรรู้เกี่ยวกับวันอัฏฐมีบูชา 

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชาเป็นวันที่ชาวพุทธต้องเผชิญหน้ากับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ แต่ถึงอย่างนั้นก็มีหลักธรรมมากมายที่เกี่ยวข้อง เป็นหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าได้มอบให้กับเราแม้ในวันสุดท้ายของชีวิตเองก็ตาม ประกอบไปด้วย 

  • ความไม่ประมาท คือการเป็นผู้ที่มีสติอยู่ตลอด พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงความไม่ประมาทและโทษที่มาจากความประมาทว่า ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ส่วนความประมาทเป็นทางที่นำไปสู่ความตาย คนที่ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย ส่วนคนที่ประมาทก็จะเหมือนกับคนที่ตายไปแล้ว 
  • สุจริต 3 เป็นการประพฤติดีประพฤติชอบ เป็นความประพฤติที่จะทำให้ผู้กระทำประสบพบเจอแต่ความสงบสุข มีทั้งหมด 3 ทาง ประกอบไปด้วยทางกายหรือกายสุจริต หมายถึงการประพฤติหรือการแสดงออกทางกายที่ดี อย่างเช่น การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทางวาจาหรือวจีสุจริต หมายถึงการประพฤติหรือการแสดงออกทางวาจาที่ดี อย่างเช่น การงดเว้นพูดจาส่อเสียดหรือการพูดโกหก และสุดท้ายคือทางใจหรือมโนสุจริต หมายถึงการประพฤติทางใจที่ดี อย่างเช่น การไม่อยากได้ของของผู้อื่น หรือการเห็นความถูกต้องอย่างเป็นครรลองคลองธรรม 

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สายมู.com

You may also like

Leave a Comment