บังสุกุล พิธีทางศาสนาเพื่ออุทิศส่วนบุญให้กับผู้ล่วงลับ 

by saimu
0 comment
บังสุกุล

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีพิธีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานอยู่เต็มไปหมด หนึ่งในนั้นก็คือพิธีบังสุกุล มันเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่เราทำเพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ แต่ในขณะเดียวกันคนเป็นก็สามารถทำพิธีกรรมดังกล่าวได้ด้วย ดังนั้นหลายคนจึงรู้สึกสับสนไม่น้อยเลยทีเดียวว่า บังสุกุลคือวิธีอะไรและทำไปเพื่ออะไรกันแน่ วันนี้เรามีคำตอบมาให้กับทุกคน ไปติดตามกันได้เลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ทำความรู้จักกับพิธีทอดผ้าบังสุกุล ความแตกต่างระหว่างบังสุกุลเป็นและบังสุกุลตาย

บังสุกุล

บังสุกุล หรือ การทอดผ้า เป็นพิธีกรรมที่พุทธศาสนิกชนจะมารวมตัวกันทำบุญและอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับจากโลกใบนี้ไปแล้ว วิธีการคือการนำเอาผ้าไตรจีวรหรือผ้าผืนหนึ่งในบรรดาผ้าไตรจีวรไปทอดถวายให้กับพระภิกษุสงฆ์ ให้พระภิกษุสงฆ์ได้พิจารณาและนำไปใช้ ส่วนใหญ่มักจะจัดพิธีดังกล่าวในงานฌาปนกิจ

โดยนำเอาด้ายหรือภูษาโยงจากโลงศพหรือภาพของผู้ที่ล่วงลับมาที่พระ จากนั้นทำการทอดผ้าถวาย ซึ่งเปรียบเสมือนกับในสมัยพุทธกาล ที่ชาวบ้านมักทิ้งผ้าเอาไว้ตามป่าช้า ซึ่งจะมีทั้งผ้าของผู้คนที่ตายไปแล้วและผ้าผืนใหม่ จากนั้นพระภิกษุก็จะทำการสวดบทที่พูดถึงความไม่เที่ยงไม่แน่นอนของสังขาร แล้วนำผ้าผืนนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไป

บังสุกุล

การบังสุกุล ไม่ได้มีเพียงแค่การทอดถวายผ้าไตรจีวรให้กับพระ สำหรับการอุทิศส่วนบุญให้กับผู้ล่วงลับแต่อย่างใด เรายังสามารถจัดพิธีดังกล่าวให้กับคนเป็นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ได้เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่เข้าร่วมพิธีจะเป็นผู้ที่มีเคราะห์กรรมหนัก ไม่ว่าจะเป็นป่วยหนัก ชีวิตประสบพบเจอแต่ปัญหา ต้องพบเจอกับการจากลาไม่หยุดหย่อน 

วิธีการคือ ให้ผู้ที่จะทำพิธีลงไปนอนหงายในโลงศพและประนมมือบนหน้าอกเหมือนกับผู้เสียชีวิต จากนั้นจะมีการนำเอาผ้าขาวมาคลุมร่างของผู้ที่ทำพิธีจนมิดชิดตลอดทั้งตัว พระสงฆ์ก็จะมาจับบริเวณชายผ้าหรือสายศิลป์ที่มีการผูกเอาไว้บริเวณชายผ้า แล้วทำการสวดบทสวดมนต์จนจบ จากนั้นก็ให้ผู้ที่เข้าทำพิธีหันศีรษะไปทางทิศตรงกันข้ามและยังคลุมผ้าขาวเหมือนเดิม พระภิกษุก็จะสวดทำพิธีอีกครั้ง 

สำหรับบทสวดของการทำบังสุกุลเป็นและบังสุกุลตาย ความหมายก็จะแตกต่างกัน หากเป็นบทสำหรับผู้เสียชีวิตจะกล่าวถึงสังขารที่ไม่เที่ยง ย่อมเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา ความสงบแห่งสังขารนำพามาซึ่งความ สัตว์ทั้งหลายที่ตายไปแล้วก็ดี ที่กำลังตายอยู่ก็ดี และที่กำลังจะตายต่อไปก็ดี ถึงตัวของเราตายเหมือนกัน ความสงสัยเรื่องความตายย่อมไม่มีให้แก่เราเลย 

ส่วนบทสวดสำหรับคนเป็นจะมีความหมายว่า ร่างกายของเราไม่คงทนถาวร ต้องลงไปถูกทับถมด้วยแผ่นดิน เมื่อวิญญาณปราศจากร่างแล้ว ก็ไม่ต่างอะไรจากท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ 

เปิดที่มาของชื่อพิธีบังสุกุล พิธีที่มักจะถูกเรียกชื่อผิดอยู่เสมอ

บังสุกุล

คำว่า “บังสุกุล” นั้นมักถูกสับสนกับคำว่า บังสุกุล อยู่เสมอ อันดับแรกเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความจริงแล้วคำดังกล่าวต้องเป็น “สุ” ตามพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ โดยได้อธิบายความหมายเอาไว้ว่า กองฝุ่น เปื้อนฝุ่น คลุกฝุ่น 

โดยใช้เรียกผ้าที่พระภิกษุชักออกมาจากศพหรือถูกทอดเอาไว้บริเวณหน้าร่างของผู้ตาย ต่อมาคำดังกล่าวก็เพี้ยนไปเพื่อให้สามารถออกเสียงได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม คำดังกล่าวเป็นภาษาบาลีที่อ่านออกเสียงว่า ปังสุ มีความหมายถึงฝุ่น และคำว่า กุล ที่มีความหมายถึงการคลุกหรือการเปื้อน เมื่อนำเอาทั้งสองคำนี้มารวมกันจึงมีความหมายถึงผ้าที่เปื้อนฝุ่นอยู่นั่นเอง 

ในประเทศไทยของเรานั้นมีการเปลี่ยนตัว ป.ปลา เป็นตัว บ.ใบไม้ ส่วนคำว่า สุ ก็ยังคงเอามาเหมือนเดิม ดังนั้นหากต้องการเขียนให้ถูกจึงต้องเขียนคำว่า บังสุกุล นั่นเอง ส่วนแบบที่ไม่มีสระอุเป็นคำว่า สกุล ที่มีความหมายถึงวงศ์ตระกูล ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาแต่อย่างใด

ประวัติความเป็นมาของการทำบังสุกุลนับตั้งแต่สมัยพุทธกาล 

บังสุกุล

พิธีบังสุกุล ในพุทธศาสนานั้นต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยพุทธกาลกันเลยทีเดียว ในช่วงเวลานั้นพระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้เหล่าพระภิกษุรับเครื่องนุ่งห่มจากฆราวาสได้แต่อย่างใด แต่ให้นำเอาผ้าที่ถูกทิ้งไว้หรือผ้าห่อศพมาซักให้สะอาด จากนั้นจึงนำมาตัดเย็บให้เป็นเครื่องนุ่งห่มไม่ว่าจะเป็นสบง จีวร หรือผ้าห่มซ้อนก็ตาม 

ในวันหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังโรงบูชาไฟ เนื่องจากมีประสงค์อยากจะนำเอาผ้าขาวห่อศพมาซักย้อมทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม พระพุทธองค์จึงเสด็จไปพิจารณาและซักผ้ามา หลังจากได้ผ้ามาเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้ดำริว่าจะซักผ้าที่ใด พระอินทร์ทราบถึงดำริเข้าจึงได้ลงมือขุดสระโบกขรณีด้วยตนเองให้พระพุทธองค์สามารถซักผ้าในสระนี้ได้ เมื่อซักหรือว่าจะขยำผ้าที่ไหน ท้าวสักกาดก็นำเอาแผ่นศิลาขนาดใหญ่มาให้ 

เมื่อนั้นก็ดำริต่อไปอีกว่าแล้วจะพลาดผ้าไว้ที่ใด เทพยดาที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้รับรู้จึงโน้มกิ่งลงมาให้พระพุทธเจ้าได้ตากผ้า เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้ผู้คนเห็นถึงฤทธิ์และอนุภาคของพระพุทธองค์ ถึงขั้นที่มีพระพุทธรูปปางซักผ้าเลยทีเดียว

ในภายหลังพระพุทธองค์ก็ได้ถวายผ้าดังกล่าวให้กับพระมหากัสสปะ พระมหากัสสปะรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างมาก จึงออกสมาทานธุดงค์คุณ 13 ข้อไปตลอดชีวิต ต่อมาก็มีพุทธานุญาตให้พระสงฆ์สามารถรับผ้ามาจากฆราวาสได้ เป็นการเจริญศรัทธาของเหล่าอุบาสกอุบาสิกาที่เลื่อมใสศาสนา และยังช่วยบรรเทาความลำบากในการหาผ้าของพระภิกษุสงฆ์อีกทางด้วย 

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สายมู.com

You may also like

Leave a Comment